โรคเบาหวาน สาเหตุ,อาการ, การรักษา

รคเบาหวาน (Diabetes)

     โรคเบาหวาน (Diabetes)

    -คนไทยประมาณ 2.4 ล้านคน เป็นโรคเบาหวาน

      -คนไทยตายประมาณ 40,000 คน/ปี จากโรคเบาหวาน

      -คนอเมริกา 16 ล้านคน เป็นโรคเบาหวาน (พบใหม่ปีละ 400,000 คน)

      -คนอเมริกาตายจากโรคเบาหวาน 250,000 คน/ปี

      -คนอเมริกาถูกตัดขาปีละ 12,000-16,000 คน

      -คนอเมริกาไตวายจากโรคเบาหวาน 100,000 คน/ปี

ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ ผลข้างเคียงเบาหวาน     เนื่องจากเบาหวานเป็นโรคที่ระบาดไปทั่ว  โดยเฉพาะเมื่อมีการพัฒนาไปสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรม  ที่จริงคือเปลี่ยนวิถีชีวิตไปสู่การบริโภคนิยมนั่นเอง  ในประเทศเราอัตราการเกิดโรคเบาหวานในประชาชนได้เพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัด  ตัวโรคเบาหวานเองเป็นปัญหาใหญ่อยู่แล้ว แต่เมื่อรวมโรคที่เป็นผลมาจากเบาหวานแล้ว เช่นโรคไต โรคหัวใจและหลอดเลือด  และตาบอด  โรคแทรกซ้อนเหล่านี้เป็นสาเหตุนำที่ทำให้ผู้ป่วยต้องถูกตัดขา และทำให้ตาบอดในผู้สูงอายุมากสุด  สี่ในห้าของผู้ป่วยเบาหวานจะเสียชีวิตลงไม่ใช่จากตัวเบาหวานเอง  แต่จากโรคหัวใจและหลอดเลือดที่แทรกซ้อนจาก
เบาหวาน

     โรคเบาหวาน เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้  โดยปกติเมื่อเรารับประทานอาหาร  แป้งและน้ำตาลจะถูกย่อยเป็นกลูโคสแล้วถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด  ต่อจากนั้นอินซูลินจะช่วยนำกลูโคสจากเลือดเข้าไปสู่เซลล์กล้ามเนื้อและเซลล์ไขมัน  เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงานหรือเก็บเป็นพลังงานสำรอง

     อินซูลิน (Insulin) เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากตับอ่อน  ในกรณีผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งพบมากในเด็กและวัยรุ่น  ตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้หรือผลิตได้ไม่เพียงพอที่จะเร่งการนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงานได้  จึงทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มนี้ต้องได้รับการรักษาด้วยอินซูลิน  รวมทั้งการตรวจวัดระดับน้ำตาลจากการเจาเลือดที่ปลายนิ้วอย่างสม่ำเสมอ  ดูแลในเรื่องอาหารและการออกกำลังกาย  เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงจนเกินไปซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการควบคุมโรคเบาหวานและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน

    อาการของโรคเบาหวาน

      -ปัสสาวะบ่อย เนื่องจากน้ำตาลในเลือดสูง  มีการสูญเสียน้ำตาลทางไต  ซึ่งจะชักนำให้มีการเสียน้ำทางปัสสาวะมากขึ้น

     - กระหายน้ำ เนื่องจากการขาดน้ำ

     - หิวบ่อยและทานเก่งขึ้น เนื่องจากร่างกายต้องการพลังงานเพิ่มขึ้น

     - น้ำหนักลด  เนื่องจากการขาดอินซูลิน  เซลล์ของร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลเป็นพลังงานได้ ประกอบกับมีการสลายไขมันเพิ่มขึ้นในร่างกาย  การสลายไขมันทำให้มีการคั่งของสารคีโตน  เกิดภาวะกรดคั่งในโรคเบาหวาน

     - ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน

     - พฤติกรรมเปลี่ยน เช่น หงุดหงิดง่าย โมโห งอแง

     - อาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ติดเชื้อราตามรอยฟันหรือบริเวณอวัยวะเพศ มีอาการคันตามร่มผ้า

     - ตาพร่ามัว หมดสติ ไม่รู้สึกตัว

 ชนิดของโรคเบาหวาน

4life เบาหวานชนิดที่ 1     1. เบาหวานชนิดที่ 1 

     เบาหวานชนิดพึ่งอินซูลิน เป็นเบาหวานที่พบมากในเด็กและวัยรุ่น แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกกลุ่มอายุ เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันทำลายตัวเอง (Autoimmune Disease) ไปทำลายเซลล์ต่อมที่ผลิตอินซุลินของตัวเองที่ตับอ่อน  ทำให้ไม่สามารถผลิตอินซุลินได้ เกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง  จึงจำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนอินซูลินจากภายนอก  เพราะการขาวอินซูลินจะทำให้เกิดการเจ็บป่วยที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้  คือภาวะกรดคีโตนคั่งในโรคเบาหวาน

        มีหลักฐานยืนยันว่า  มีการพบโรคเบาหวานแบบพึ่งอินซุลินในเด็กเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  แม้จะยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน  แต่ผู้เชี่ยวชาญบางกลุ่มเชื่อว่า ปัจจัยทางสังคมบางประการ เช่น การไม่เลี้ยงลูกด้วยนมมารดา  จนทำให้เด็กขาดภูมิต้านทานบางอย่าง อาจกระตุ้นความเสี่ยงทางกรรมพันธ์ที่มีอยู่แล้วได้  โรคเบาหวานในเด็กเป็นปัญหาร้ายแรงมาก เพราะยิ่งเด็กป่วยเป็นโรคเบาหวานนานเท่าใด  ก็ยิ่งเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดตามมาภายหลังมากขึ้นเรื่อย ๆ เท่านั้น

     การรักษาเบาหวานชนิดที่ 1

     จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยการฉีดอินซูลินตลอดชีวิต รวมทั้งควบคุมประเภทของอาหารและต้องมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องสมดุลกัน เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ  ในกรณีภาวะกรดคีโตนคั่งในโรคเบาหวานต้องได้รับการรักษาด้วยการให้สารน้ำ เกลือแร่ และอินซูลิน พร้อมกับการติดตามผลการรักษาอย่างใกล้ชิด เพราะมีอันตรายสูง 

4life เบาหวานชนิดที่ 22. เบาหวานชนิดที่ 2

    พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ หรือเด็กวัยรุ่นบางคน เป็นชนิดที่เกิดมากในปัจจุบัน มากกว่า 90% ของโรคเบาหวานจะเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2  โรคเบาหวานที่เกิดในผู้ใหญ่  มักเริ่มเกิดในวัย 40-50 ปี เป็นเพราะเมื่อมีอายุมากขึ้น ประสิทธิภาพในการผลิตอินซุลินลดลง  นอกจากนี้ ยังเชื่อกันว่าภาวะทางพันธุกรรมนอกจากพฤติกรรมการบริโภคที่กล่าวแล้วเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย  นั่นคือพันธุกรรมที่ทำให้ร่างกายมีประสิทธิภาพผลิตอินซุลินได้น้อยกว่าปกติ  โดยเฉพาะเมื่อมีอายุมากขึ้น  อีกประการหนึ่ง  หากเป็นคนอ้วนอยู่ด้วย  เซลล์ไขมันในร่างกาย (ซึ่งมีมากในคนอ้วน) จะตอบสนองต่ออินซุลินได้น้อยกว่า  ทำให้ต่อมในตับอ่อนต้องผลิตอินซุลินในปริมาณเพิ่มมากขึ้นเพื่อชดเชย  ผลสุดท้ายจากปัจจัยต่าง ๆ พฤติกรรมการดำเนินชีวิต รวมทั้งยังรับประทานอาหาร ตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซุลินได้มากพ่อต่อความต้านหรือดื้อต่ออินซุลินของเซลล์ไขมันได้  น้ำตาลในเลือดจะมีระดับสูง 

     ซินโดรมเอกซ์ - ภาวะการดื้อต่อต้านอินซูลิน (Syndrome X-Insulin Resistance)

ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ ซินโดรม X     สังคมปัจจุบันที่นิยมรับประทานอาหารรสหวาน อาหารคาร์โบไฮเดรตสูง  โดยเฉพาะที่เป็นเชิงเดี่ยว แป้งขาวแต่งละเอียด น้ำตาลเชิงเดี่ยว น้ำอัดลม ไอศครีม ขนมหวานต่าง ๆ หรือแม้แต่ข้าวขาว แป้งขาว ขนมปังและมันเทศ ซึ่งจัดเป็นอาหารในกลุ่มที่ดูดซึมเข้ากระแสเลือดเร็ว เมื่อเทียบกับพืช ผัก ผลไม้ที่มีรสหวานน้อยและมีใยไฟเบอร์ อาหารพวกนี้ที่กล่าวข้างต้นจะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้เร็ว ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว  ซึ่งจะไปกระตุ้นต่อมในตับอ่อนให้หลั่งอินซูลินออกมาเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดลง เพื่อรักษาระดับปกติ แต่ระดับลดลงมากกว่าปกติ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไป ร่างกายต้องการน้ำตาล รู้สึกหิว จึงรับประทานอีกเป็นวงจรซ้ำ ๆ อยู่เรื่อย ๆ  ในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งอาจมีความบกพร่องทางพันธุกรรมเป็นปัจจัยร่วม อินซุลินจะถูกผลิตมากเกิน และเป็นการกระตุ้นให้ต่อมผลิตอินซุลินทำงานมากเกินไป  เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายจะมีความไวต่ออินซุลินลดน้อยลงเรื่อย ๆ เพื่อที่ร่างกายจะควบคุมระดับน้ำตาลได้  ต่อมจะต้องผลิตอินซุลินลดน้อยลงเรื่อย ๆ เพื่อที่ร่างกายจะควบคุมระดับน้ำตาลได้  ต่อมจะต้องผลิตอินซุลินให้มากขึ้นเรื่อย ๆ ภาวะของร่างกายที่เป็นไปเช่นนี้ เรียกว่า ซินโดรมเอกซ์ (Syndrome X) ซึ่งก็คือภาวะดื้อต่ออินซุลิน และเป็นภาวะที่ทำให้มีอินซุลินในเลือดสูง

 

     การรักษาเบาหวานชนิดที่ 2

     สามารถรักษาเบื้องต้นได้โดยการควบคุมน้ำหนัก การควบคุมอาหาร และการออกกำลังกาย  ในบางรายอาจจำเป็นต้องรับประทานยาลดระดับน้ำตาล  และบางกรณีอาจต้องได้รับการฉีดอินซูลินเพื่อควบคุมโรค


ผลิตภัณฑ์แนะนำ
 

ทรานเฟอร์ แฟกเตอร์ ไตร-แฟกเตอร์(ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานเป็นปกติ + เบาหวาน Type I)

ทรานเฟอร์ แฟกเตอร์ กลูโคช (เบาหวาน Type II, ปรับสมดุลย์ภูมิคุ้มกัน, ลดระดับน้ำตาลในเลือด)

ทรานเฟอร์ แฟกเตอร์ รีนิวออล (เจลทาภายนอก + แผลเบาหวาน)

 

 

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2