โรคที่เกิดจากการภูมิคุ้มกันผิดปกติ

ารควบคุมการตอบสนองทางระบบภูมิคุ้มกัน (Immune Regulation)

    ารควบคุมการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต้องเป็นไปอย่างเหมาะสมเพื่อให้เกิดสมดุลย์ในการทำงานโดยไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของเซลล์ร่างกาย จึงต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้

     1. ต้องไม่คุกคามเซลล์หรือเนื้อเยื่อร่างกายตนเอง คุณสมบัตินี้เรียกว่า self tolerance

     2.การตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมจะต้องเกิดในจังหวะที่พอดีและเกิดในตำแหน่งที่เหมาะสม

     3.  ต้องจัดสรรให้มีหน่วยกำกับหรือปราบปรามระบบภูมิคุ้มกันไม่ให้เกิดการตอบสนองที่รุนแรงเกินไปจนกระทั่งเป็นภัยต่อเซลล์หรือเนื้อเยื่อปกติของร่างกาย (hypersensitivity potential) และต้องควบคุมไม่ให้เกิดการตอบสนองที่ยืดเยื้อนานเกินไปจนอาจส่งผลกระทบต่อเซลล์ปกติของร่างกายได้ (Auto Immune tential)   

     วามผิดปกติในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

      ลไกในการเกิดความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันมีได้ 3 แบบคือ

          1. การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายบกพร่อง (Imune Dificiency) ซึ่งอาจเป็นมาแต่กำเนิด (เช่น โรค hypogammaglobulinemia ในเด็ก) หรือ เกิดขึ้นในระยะหลัง (acquired) จากการติดเชื้อไวรัสบางชนิด (เช่นไวรัสเอดส์), ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน (เช่น เคมีบำบัดที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง ยาในกลุ่มสเตียรอยด์)  สัมผัสกับสารกัมมันตภาพรังสีเป็นบริเวณกว้างจนเกิดการทำลายไขกระดูก (เช่น ได้รับรังสีรักษา สัมผัสกับกากสารกัมมันตภาพรังสี หรือระเบิดนิวเคลียร์)  ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดตัดม้ามออก (เช่น ม้ามแตกจากอุบัติเหตุ โรคธาลัสซีเมียรุนแรงที่มีม้ามโตมากๆ) ผู้ที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง (เช่น เบาหวาน ไตวาย ตับแข็ง เป็นโรคขาดอาหารรุนแรง) หรือผู้สูงอายุมากๆ (extreme age)

          2. ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานมากเกินไป หรือ ภูมิไวเกิน (Hypersensitivity Reaction) ทำให้มีการตอบสนองที่รุนแรงมากผิดปกติกับสารบางอย่าง เช่น เกสรดอกไม้ ขนสัตว์ โลหะ ทำให้เกิดอาการในกลุ่มของโรคภูมิแพ้ (Allergic Disease) เช่นแพ้อากาศ หืด หอบ ไซนัสอักเสบจากภูมิแพ้  การแพ้ยาหรืออาหารทะเล เป็นต้น สิ่งแปลกปลอมที่ทำให้เกิดอาการของโรคภูมิแพ้นี้ เราเรียกว่า "Allergen"

          3. ระบบภูมิคุ้มกันทำงานสับสน ไม่สามารถแยกแยะแอนติเจนร่างกายออกจากแอนติเจนแปลกปลอม เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันเข้าจู่โจมและเข้าทำร้ายเนื้อเยื่อร่างกายทำให้เกิดเป็นโรคทางออโตอิมมูน (autoimmune) ขึ้นมาได้ ตัวอย่างของโรคเหล่านี้ได้แก่ โรคลูปัส โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ไข้รูมาติก ต่อมทัยรอยด์เป็นพิษ (ชนิด Graves’ disease) หรือโรคเบาหวานที่เกิดจากการทำลายเซลล์ของตับอ่อนที่หลั่งฮอร์โมนอินซูลิน เป็นต้น

ภูมิค้มกันไวเกิน

แพ้ภูมิตัวเอง

ภูมิคุ้มกันต่ำ

ูมิแพ้ กล้ามเนื้ออ่อนแรง (MS) อาการติดเชื้อ
หอบ หืด โรคเบาหวาน Type 1 ภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS, HIV)
ลมพิษ เรื้อนกวาง (Psoriasis) ตับอักเสบชนิดบี, ซี
ผิวแห้งบวม แดง SLE, LUPUS (โรคพุ่มพวง) มะเร็ง
ผิวเป็นผื่นแดง และเจ็บแสบ รูมาตอยด์ วัณโรค
สะเก็ดเงิน   ไซนัสอักเสบ
โรคกระเพาะ, อักเสบในทางเดินอาหาร   ปลายประสาทอักเสบ
    อ่อนเพลียเรื้อรัง
    ไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่

 

     การติดเชื้อแอบแฝง

     มีเชื้อโรคบางชนิดซึ่งอาจเป็นไวรัส หรือแบคทีเรียจะอาศัยอยู่ในร่างกายของมนุษย์ได้ยาวนานโดยไม่ถูกกำจัดออกจากร่างกาย  ตัวอย่าง เช่น เชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคสุกใสหรืองูสวัด และโรคเริม ซึ่งอยู่ในกลุ่ม Herpes virus ภายหลังการติดเชื้อครั้งแรก เชื้อจะหลบซ่อนอยู่ในปมประสาทอยู่ตลอดชีวิตของคนเรา และพร้อมที่จะก่อโรคได้ทันทีที่ CMIR ลดต่ำลง ทำให้เกิดโรคซ้ำซากเป็นๆหายๆโดยไม่ได้รับเชื้อเข้าไปใหม่แต่อย่างใด  อีกโรคหนึ่งที่รู้จักกันดีคือวัณโรคปอด เชื้อวัณโรคจะซ่อนตัวและจำศีลภายในขั้วปอดของคนเราแม้จะกินยาจนครบและตรวจไม่พบรอยโรคจากภาพถ่ายรังสีแล้ว เมื่อใดที่ CMIR ลดต่ำลง เช่น ได้รับเคมีบำบัดรักษาโรคมะเร็ง เป็นโรคเบาหวาน เชื้อวัณโรคอาจกำเริบขึ้นได้  อีกตัวอย่างหนึ่งที่พบบ่อยคือการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด B แม้ว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายได้เองในระยะเวลาหนึ่ง แต่บางรายจะกลายเป็นการติดเชื้อเรื้อรังหรือเป็นพาหะ ทำให้ตรวจพบเชื้อไวรัสตกค้างอยู่ในร่างกายได้เป็นระยะเวลานานๆโดยไม่ก่อให้เกิดอาการ

       การติดเชื้อในลักษณะนี้เรียกว่าการติดเชื้อแอบแฝง ส่วนใหญ่เป็นผลจาก CMIR ลดต่ำลงหรือขาดประสิทธิภาพไม่สามารถกำจัดเชื้อจุลชีพให้หมดไปจากร่างกายได้ อย่างดีก็ทำได้เพียงควบคุมหรือคอยกำกับไม่ให้เชื้อมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนขึ้นจนก่อให้เกิดอาการได้เท่านั้น             

    ปัจจัยที่มีส่งผลต่อประสิทธิภาพในการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน

ระสิทธิภาพในการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในแต่ละคนจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับ

1. ปัจจัยทางพันธุกรรม การตอบสนองทางระบบภูมิคุ้มกันอยู่ภายใต้การควบคุมของยีนในกลุ่ม Histocompatibility antigens

2. อายุ  เด็กเล็กและผู้สูงอายุมีการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันด้อยกว่าคนหนุ่มสาว จึงเสี่ยงต่อการติดเชื้อง่าย

3. ปัจจัยทางเมแทโบลิก  ฮอร์โมนบางชนิดเช่นสเตียรอย์มีฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการกินสิ่งแปลกปลอมของเม็ดเลือดขาว ลดการสร้างแอนติบอดี  คนที่กินยาในกลุ่มสเตียรอยด์จึงมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง

          4. ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม  คนที่มีเศรษฐานะยากจนจะมีอัตราการเกิดโรคต่างๆสูงกว่าคนที่มีความเป็นอยู่ดี ทั้งนี้เนื่องจากสาเหตุหลายประการรวมทั้งการขาดสารอาหาร 

5. ลักษณะทางกายวิภาค  ความผิดปกติของผิวหนังและเยื่อบุ เช่น ผิวหนังมีแผลพุพองอักเสบ แผลไฟไหม้ จะเสี่ยงต่อการติดเชื้อง่าย

6. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเชื้อจุลชีพ  จุลชีพประจำถิ่น (Normal Flora) ที่อาศัยอยู่ในลำไส้จะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลชีพก่อโรค  ถ้าเชื้อจุลชีพประจำถิ่นถูกทำลาย  เช่นได้รับยาปฎิชีวนะอย่างต่อเนื่อง  เชื้อจุลชีพก่อโรคจะทวีจำนวนขึ้นก่อให้เกิดโรคได้

7. ลักษณะทางสรีระ ตัวอย่างเช่น ความเป็นกรดของน้ำย่อยในกะเพาะอาหาร  ขนอ่อน (cilia) ที่คอยโบกพัดบริเวณผิวเยื่อบุหลอดลม  การไหลของน้ำปัสสาวะ ถ้าสิ่งที่กล่าวมาผิดปกติ เชื้อจุลชีพจะเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น

 

 

ผลิตภัณฑ์แนะนำ

กลุ่มผลิตภัณฑ์ ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ เพิ่มประสิทธิภาพภูมิคุ้มกัน 

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2