ภูมิคุ้มกันบำบัด พิชิตโรคมะเร็ง

วัตกรรม "ภูมิคุ้มกันบำบัด" ความหวังใหม่พิชิตโรคมะเร็ง !?

19 ตค. 2552
  
   การเจ็บป่วยไม่ว่าจะด้วยโรคใดก็ตามเชื่อว่าคงไม่มีใครอยากเผชิญ การดูแลรักษาสุขภาพไม่มองข้ามละเลยต่อการปฏิบัติตนเองเพื่อหลีกไกลจากความ เจ็บป่วย สิ่งนี้มีความหมายสำคัญ
  
     ขณะที่การดำเนินชีวิตมีรูปแบบเปลี่ยนไปไม่ว่าจะเป็นการบริโภคอาหาร การพักผ่อน ออกกำลังกาย ฯลฯ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งก่อให้เกิดความเจ็บป่วย และโรคที่ยังคงครองแชมป์มีผู้เสียชีวิต เจ็บป่วยจำนวนมากก็เห็นจะเป็น โรคมะเร็ง โดยในส่วนของวิธี การรักษามะเร็งเป็นที่ทราบกันดีว่ามีการรักษาหลายวิธี นอกจากนี้ในความก้าวหน้าใหม่ ๆ ปัจจุบันยังมีการนำความรู้ทาง วิทยาศาสตร์มาใช้ ยกตัวอย่างในเรื่องของ ภูมิคุ้มกันบำบัด
  
     นพ.วิโรจน์ เหล่าสุนทรศิริ หัวหน้าศูนย์วิจัยทางคลินิก สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ให้ความรู้ถึงการศึกษาวิจัยในเรื่องดังกล่าวว่า การรักษามะเร็งสามารถทำได้ทั้งการผ่าตัด การรักษาด้วยรังสี เคมีบำบัด อีกทั้งยังมีการศึกษาวิจัยนำความก้าวหน้าความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้เพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพ อาทิ ยารักษาเฉพาะจุด ส่วนที่อาจทำให้มะเร็งหายไป คือ ภูมิคุ้มกันของร่างกายไปเป็นตัวทำลายเซลล์มะเร็ง   ที่หลงเหลืออยู่และจากความรู้ความก้าวหน้าทางการแพทย์ทำให้ทราบว่ามะเร็งมี ต้นตอที่มีสภาพเป็นเซลล์ต้นกำเนิด หรือสเต็มเซลล์ของมะเร็ง และเซลล์นี้ก็ดื้อต่อยาเคมีบำบัด การฉายรังสีกับเคมี   ทั้งหลายจึงเป็นสาเหตุของ   การกลับคืนหรือการกระจายของโรค
  
     ตามทฤษฎีการที่ร่างกายมีภูมิต้านทานไปควบคุมไม่ให้เซลล์มะเร็งแพร่ขยายตัว ได้ก็อาจเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้มะเร็งไม่กลับมาอีก เป็นแนวความคิดการรักษาโรคมะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด ที่ผ่านมาจากการวิจัยพบว่า การให้ภูมิต้านทาน หรือการเพิ่มภูมิคุ้มกันในร่างกายอาจเป็นวิธีการควบคุมโรคมะเร็งหรือทำให้ โรคมะเร็งถูกควบคุมได้และเมื่อถูกควบคุมได้ก็ไม่มีการกลับมา ซึ่งมะเร็งส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นและที่คร่าชีวิตคนไข้ คือมะเร็งที่กลับมาใหม่ ซึ่งเมื่อไหร่ก็ตามที่ตรวจพบว่ามะเร็งกลับมา มะเร็งเหล่านั้นก็มักจะไม่หายขาดเป็นส่วนใหญ่
  
     “การรักษาโรคมะเร็งอาจจะยากกว่าโรคติดเชื้อ มะเร็งจะค่อย ๆ เติบโตขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงและ มีการหลั่งสารบางอย่างออกมาทำให้เม็ดเลือดขาวซึ่งเป็นตัวป้องกันเชื้อโรคหรือเซลล์ร้ายต่าง ๆ ไม่สามารถรับรู้จดจำได้ว่าเป็นมะเร็ง แต่ด้วยวิทยาการใหม่ ๆ สามารถกระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาวให้กลับมาทำงานและต่อสู้กับเซลล์มะเร็งได้ อย่างเช่น มะเร็งไต มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งไฝดำ ฯลฯ ซึ่งการกระตุ้นภูมิคุ้มกันการให้เซลล์บางอย่างที่ผ่านการกระตุ้นจะมีประสิทธิภาพ ควบคุมเซลล์มะเร็งตลอด จนสามารถทำลายและคุมมะเร็งได้โดยมีผลข้างเคียงน้อย”
  
     ความรู้จากงานวิจัยจึงแสดงให้เห็นว่าภูมิคุ้มกันมีบทบาทที่จะควบคุมการกลับมาของมะเร็ง โดยเฉพาะกรณีที่พบมะเร็งไม่มากหรือหลงเหลืออยู่ในร่างกายก็น่าจะเป็นบทบาท ที่ดีของการใช้ภูมิคุ้มกันเข้ามาบำบัด เทคโนโลยีเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราพัฒนาขึ้นซึ่งปัจจุบันมีการนำมาใช้ เพียงแต่ว่าจะต้องเลือกนำมาใช้ให้ถูกต้องโดยให้เหมาะต่อบุคคล ถูกต่อโรค
  
      “การรักษาโดยวิธีใช้ภูมิคุ้มกันบำบัดยังอยู่ขั้นกึ่งวิจัยเนื่องจากมีข้อมูลที่สนับสนุนงานวิจัยและมีการศึกษาอย่างต่อเนื่องซึ่งสิ่งนี้  มีความสำคัญจึงพยายามที่ จะคิดค้นนวัตกรรมด้านนี้ออกมาและจากที่ผ่านมาที่ทำการวิจัยในสัตว์ทดลองระยะ เบื้องต้นพบว่าให้ผลออกมาเป็นที่น่าพอใจโดยผลข้างเคียงแทบจะไม่มี อย่างที่ผ่านมาก็มีเทคโนโลยีหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นการกระตุ้นเซลล์ในร่างกาย ให้มีความสามารถพิเศษในการทำลายเซลล์มะเร็งโดยไม่ทำลายเซลล์อย่างอื่น
  
     ในวิธีการรักษารูปแบบนี้แน่นอนว่าจะต้องดูว่ามีความเหมาะสมกับมะเร็งชนิดไหน บางชนิดที่ทางคณะผู้วิจัยคิดว่าน่าจะได้ผล อย่าง มะเร็งไต มะเร็งไฝ มะเร็งผิวหนัง มะเร็งโพรงจมูก มะเร็งลำไส้ ขณะที่มะเร็งตับ ก็ควรจะ  ได้ผลเช่นกัน เพราะเป็นที่ทราบกันว่ามะเร็งตับที่เกิดในประเทศไทยเกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งไวรัสทำให้ภูมิต้านทานผิดปกติไป ฯลฯ
  
     นอกจากนี้จากทฤษฎียัง พบว่าในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอัตราความเสี่ยงของการกลับคืนของโรคหลังการรักษาจบ ลง หากตัดตอนการเกิดมะเร็ง    นำกลุ่มคนไข้เหล่านี้โดยเพิ่มภูมิต้านทานอาจทำให้ผู้ป่วย     มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเรียก     ว่าหากรู้ว่ามีแนวโน้มจะเกิดมะเร็งซ้ำหรือมีอัตราความเสี่ยงสูง การเพิ่มภูมิต้านทานกลุ่มนี้อาจเป็นวิธีการป้องกันรักษาโรคได้ดี
  
     แต่อย่างไรก็ตาม การรักษาภูมิคุ้มกันบำบัดแม้จะเป็นงานวิจัยก็ต้องมีการควบคุมประเมินผลมี ข้อมูลที่ถูกต้องก่อน ส่วนเมื่อไหร่จะเห็นผลแล้วนำมาใช้ได้นั้น ตอนนี้ยังอยู่ในขั้นการวิจัยเพื่อสร้างเป็นนวัตกรรมการรักษาโรคมะเร็งซึ่ง ถ้ามีเทคโนโลยีใหม่เกิดขึ้นก็อยากจะนำมาผสมผสานเพื่อให้เกิดความจำเพาะที่จะ ทำลายเซลล์มะเร็ง การวิจัยนี้จึงเป็นเหมือนการสร้างวัคซีนให้กับคนไข้และในกระบวนการเหล่านี้ อาจเป็นวิธีการที่ดีในกรณีที่นำมาใช้รักษาตั้งแต่เริ่มต้น
  
     การทำวิจัยมีการควบคุมผู้ป่วยอย่างเหมาะสม มีการติดตามผลมีรายงานชัดเจนเพราะต้องการสร้างสิ่งนี้ให้เป็นนวัตกรรมเป็นแนวทางการรักษาเสริมให้กับผู้ป่วยซึ่งการเสริมก็เท่ากับเป็นการป้องกัน อย่างในผู้ป่วยบางคนที่ไม่เหมาะกับการให้ยาเคมีบำบัดหรือการรักษาใดเลย การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันอาจจะเป็นวิธีที่เหมาะสมเป็นการชะลอการเติบโตของ เชื้อโรค แม้ว่าโรคจะยังอยู่แต่ภูมิต้านทานจะไปควบคุมโรคเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนไข้ อีกทั้งเป็นความหวังการรักษา ซึ่งสิ่งนี้อาจเป็นทางออก อย่างหนึ่งและแม้ขณะนี้จะยังไม่สรุปผล แต่ทั้งนี้การวิจัยก็มีแนวโน้มไปในทางที่ดี
  
     ท้ายที่สุดก่อนต้องเผชิญหรือเสี่ยงต่อโรคมะเร็งร้าย แพทย์ท่านเดิมให้มุมมองแนะนำเพิ่มเติมว่า การรักษาด้วยวิธีทางเลือกซึ่งมีอยู่ไม่น้อยควรที่จะศึกษาเลือกในสิ่งที่ เหมาะสม มีหลักการสนับสนุน เลือกในสิ่งที่มีการวิจัยที่ถูกต้องตามกระบวนการวิทยาศาสตร์ที่มีการศึกษา การแปรผลอย่างถูกต้อง อีกทั้งควรขอคำแนะนำการรักษากับแพทย์เจ้าของไข้ว่า สิ่งที่กำลังสนใจมีเหตุผลหรือไม่
  
     ส่วนการป้องกันนอกเหนือจากการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีคุณ ค่าทางโภชนาการ การออกกำลังกายและพักผ่อนที่เหมาะสมเพียงพอแล้ว อีกสิ่งที่ต้องไม่ละเลยปฏิบัติ และพึงระมัดระวังโดยเฉพาะหากมีประวัติ มีความเสี่ยงควรได้รับการตรวจแต่เนิ่น ๆ เตือนตนเองไม่มองข้ามในสิ่งเหล่านี้.

ที่มา : Dailynews


     ลิตภัณฑ์แนะนำ

 
    ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ พลัส ไตร-แฟกเตอร์ (เพิ่มประสิทธิภาพภูมิคุ้มกัน NK Cells 437%)

     ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ ริโอวิด้า (เพิ่มประสิทธิภาพภูมิคุ้มกัน NK Cells 283% + สารต้านอนุมูลอิสระ)

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2