แมกนีเซียม

แมกนีเซียม (Magnesium)

 

แมกนีเซียมลดอาการแทรกซ้อนในโรคเบาหวาน

     ลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจ, ช่วยดูดซึมแคลเซียม

บรรเทาอาการปวดศีรษะก่อนมีประจำเดือน

 

     ชื่อทางเคมี

     แมกนีเซียมคาร์โบเนต, แมกนีเซียมกลูโคเนต, แมกนีเซียมออกไซด์, แมกนีเซียมซัลเฟต

 

     แมกนีเซียมออกฤทธิ์อย่างไร


     -
แมกนีเซียมถูกสะสมไว้ในเนื้อเยื่อร่างกายทุกส่วน  และมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและบำรุงรักษากระดูกและฟันให้แข็งแรง 


       -
มีบทบาทสำคัญในการช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว 


      -
มีความจำเป็นต่อสุขภาพหัวใจและระบบประสาท


      -
เกี่ยวพันกับการสร้างและการทำงานของปฎิกิริยาเคมีของเอนไซม์กว่า 300 ชนิด


      -
มีผลต่อระบบร่างกายหลายระบบ  ช่วยปลดปล่อยพลังงานจากอาหาร และช่วยปกป้องผนังเซลล์

 

     ตัวช่วยการดูดซึมแมกนีเซียม

     อาหารโปรตีนจำพวกเนื้อ, ไก่, ปลา และไข่ สามารถช่วยให้แมกนีเซียมดูดซึมเข้าไปอย่างสม่ำเสมอพร้อมกับแคลเซียม  เชื่อว่าเกลือแร่ฟอสฟอรัสและสังกะสะ บวกกับวิตามินบี1, บี6, ซี และดี ล้วช่วยเพิ่มการดูดซึมแมกนีเซียมเช่นกัน

 

     ตัวยับยั้งการดูดซึมแมกนีเซียม

     แคลเซียมปริมาณสูงจะลดความสามารถของร่างกายในการดูดซึมแมกนีเซียม เกลือแร่ตัวนี้จะจับกับสารที่ชื่อ ออกซาเลต ซึ่งพบได้ในผักปวยเล้งและรูบาร์บ และยังจับกับสาร ไฟเทค ที่พบในรำข้าวสาลี  เป็นที่ทราบกันว่าการใช้ยาขับปัสสาวะเป็นเวลานานจะลดระดับแมกนีเซียมในร่างกายด้วยเช่นกัน

 

     ประโยชน์ในการรักษาโรคของแมกนีเซียม

     - โรคเบาหวาน  การขาดแมกนีเซียมพบได้ในผู้ป่วยเบาหวานและมีส่วนเกี่ยวพันกับอาการแทรกซ้อนทั้งแบบเฉียบพลันและระยะยาว เช่น โรคหัวใจ ปัญหาสุขภาพไต และการเสื่อมของเส้นประสาท แมกนีเซียมนอกจากจะมีความจำเป็นต่อการขนส่งน้ำตาลกลูโคส ยังมีความสำคัญต่อการปลดปล่อยฮอร์โมนอิสซูลิน ซึ่งช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด  ผลิตภัณฑ์แมกนีเซียมอาจเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานแต่เคยมีอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่น รู้สึกเบาศีรษะหรือเป็นลม

 

     - อาการหัวใจล้ม การขาดแมกนีเซียมมีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และหัวใจวายตายเฉียบพลัน พบว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาจลดความเสี่ยงจากอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะหลังหัวใจล้ม

    

     - โรคหัวใจ  แมกนีเซียมอาจจะช่วยลดคอเลสเทอรอลรวมในร่างกาย และเพิ่มคอเลสเทอรอลชนิดดี (HDL) และหยุดยั้งไม่ให้เลือดจับตัวเป็นก้อน จึงอาจยับยั้งความเสี่ยงจากโรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง และโรคหัวใจได้

 

     - ปวดประจำเดือน  สุภาพสตรีที่มีอาการปวดประจำเดือนอาจทุเลาจากอาการปวดหลังและท้องน้อยได้โดยกินแมกนีเซียมและประสิทธิภาพจะเพิ่มขึ้นเมื่อกินวิตามินบี6 ร่วมด้วย

 
    -
ปวดหัวก่อนมีประจำเดือน  อาการปวดหัวก่อนมีประจำเดือนอาจมีความเกี่ยวพันกับระดับแมกนีเซียมต่ำในกระแสเลือด  การกินแมกนีเซียมขนาด 100-200 มิลิกรัม/วันอาจช่วยได้

 

     ค่าอาร์ดีเอสำหรับผู้ใหญ่

     300 มิลลิกรัม

 

     ข้อควรระวัง

     แมกนีเซียมเกินขนาดอาจเกี่ยวข้องกับการเกิดอัมพาต อาเจียน และซึมเศร้า แมกนีเซียมขนาด 3000-5000 มิลลิกรัม/วันอาจทำให้ถึงตาย


       ผลิตภัณฑ์แนะนำ

 

      ซีเอ็ม (CM) : แคลเซียม + แมกนีเซียม + วิตามินดี + โบรอน ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน เสริมการทำงานระบบประสาท กล้ามเนื้อ

 

       ไฟโบรเอเอ็มเจ สูตรกลางวัน (ไฟโบรอัลมัยเจีย, ข้อเสื่อม, ปวดกล้ามเนื้อ)

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2