เคล็ดลับดูแลสุขภาพเบื้องต้น เมื่อก้าวสู่วัยสูงอายุ

 เคล็ดลับดูแลสุขภาพเบื้องต้น เมื่อก้าวสู่วัยสูงอายุ

 

     ปัจจุบันจำนวนประชากรผู้สูงอายุ มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ถือว่าเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกายและจิตใจอย่างเห็นได้ชัด  ดังนั้นจึงมุ่งเน้นให้ความสำคัญในการดูแลป้องกันก่อนเกิดโรค  เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้สูงวัยทุกท่าน

     ปกติร่างกายคนเราจะเริ่มมีการเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไป  การเสื่อมลงของระบบในร่างกายนี้  เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคหลายชนิด  อาทิ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคทางสมอง โรคกระดูกพรุน เป็นต้น  นอกจากภาวะทางด้านร่างกายแล้ว ทางด้านจิตใจก็มีผลต่อการดำรงชีวิต  โดยเฉพาะภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ มักเกิดกับผู้ที่มีโรคเรื้อรังร่างกาย ทำให้ไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรืออาจเกิดจากการที่ต้องอยู่คนเดียวตามลำพัง  ฉะนั้นการเตรียมพร้อมในการดูแลรักษาสุขภาพที่ถูกต้อง ถูกสุขลักษณะตั้งแต่ต้น จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรค หรือปัญหาทางด้านสุขภาพต่างๆ ที่มักเกิดขึ้นเมื่อย่างเข้าสู่วัยสูงอายุ

 

     โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ

     โรคทางสมอง : พบมากในผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจ เครียด ขาดการออกกำลังกาย สูบบุหรี่ คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคสมอง และการเสื่อมของเซลล์สมองส่วนใหญ่จะพบในคนอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป  โดยโรคสมองที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ได้แก่ โรคอัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม และโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือโรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น

     โรคเก๊าต์ : มักพบในชายสูงอายุมากกว่าหญิง  ทำให้เกิดอาการปวดตามข้อชนิดหนึ่งเกิดจากการมีกรดยูริกสะสมในร่างกายจำนวนมาก โดยเฉพาะตามข้อ  ซึ่งคนแต่ละวัยมีระดับกรดยูริกในเลือดที่แตกต่างกัน เช่น ผู้หญิงวัยก่อนหมดประจำเดือนจะมีระดับกรดในเลือดสูงกว่าคนในวัยอื่นๆ หรือการกินอาหารที่มีสารพิวรีนสูง เช่น เนื้อเป็ด เนื้อไก่ เครื่องในสัตว์ ถั่วต่างๆ ก็เป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดกรดยูริกในร่างกายมากเกินไป

     โรคเบาหวาน : เป็นความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ  อันส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกิน  ก่อให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ปัสสาวะและกระหายน้ำบ่อย ดื่มน้ำในปริมาณมากต่อครั้ง อ่อนเพลีย น้ำหนักตัวลดโดยไม่มีสาเหตุ และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น ตาพร่ามัว หรือตาบอด ไตเสื่อม ชาตามปลายมือปลายเท้าและอาจติดเชื้อได้ง่าย

     โรคความดันโลหิตสูง : คนปกติจะมีความดันโลหิต 120/80-139/89 มิลลิเมตรปรอท  หากมีค่าความดันมากกว่านี้จัดว่าเป็นผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง  ซึ่งโรคนี้ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการแสดง  แต่บางครั้งจะมีอาการใจสั่น ปวดศีรษะ หน้ามืด ตาพร่า  ถ้าไม่รักษาตั้งแต่เบื้องต้นอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น อัมพฤกษ์ ตาบอด ไตวาย หัวใจวาย เป็นต้น

     โรคระบบทางเดินปัสสาวะ : ในผู้ชายสูงอายุ ส่วนใหญ่เป็นโรคต่อมลูกหมากโต จนกดท่อปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะกลางคืน ปัสสาวะออกไม่หมด ทำให้เหลือบางส่วนไว้ในกระเพาะปัสสาวะ  อันเป็นสาเหตุของการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้  ในผู้หญิงสูงอายุ มักจะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่  อาจเกิดจากระบบประสาท สุขภาพจิต กระเพาะหรือทางเดินปัสสาวะผิดปกติ เช่น เกิดอาการอุดตัน การติดเชื้อ หูรูดไม่ดี

     โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก : พบมากในชายสูงอายุ 60 ปีขึ้นไป  สาเหตุมากจากภาวะความไม่สมดุลของระบบฮอร์โมนเพศชายทำให้เซลล์มะเร็งของต่อมลูกหมากมีการเจริญเติบโตมากขึ้น  การทานอาหารที่มีไขมันสูง รวมถึงการถ่ายทอดทางพันธุกรรม เป็นต้น  โดยในระยะเริ่มแรกของมะเร็งต่อมลูกหมาก มักไม่แสดงอาการใดๆ แต่เมื่อมะเร็งเริ่มลุกลามมากขึ้นอาจทำให้เกิดอาการปัสสาวะที่ผิดปกติ  เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดเมื่อยตามร่างกายและกระดูก

     โรคตา : โรคตาที่ผู้สูงอายุเป็นกันมาก คือ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคต้อกระจก โรคต้อหิน และน้ำวุ้นตาเสื่อม  ซึ่งเกิดจากหลายสาเหตุ และมีอาการที่แตกต่างกัน  แต่สาเหตุส่วนใหญ่ของโรคตาเกิดจากความเสื่อมเนื่องจากอายุที่มากขึ้น  ทำให้การมองเห็นลดลง  ดังนั้นเมื่อเกิดอาการผิดปกติ ควรรีบพบจักษุแพทย์ทันทีเพื่อวินิจฉัย และรักษาได้อย่างถูกต้อง

     โรคไต : ในช่วงแรกมักไม่แสดงอาการ  แต่เมื่อไตเริ่มเสื่อมมากขึ้น จะทำหน้าที่ลดลง  เกิดการคั่งของเสียมากขึ้น  ความผิดปกติและอาการแสดงจะมากขึ้น เช่น อ่อนเพลีย บวม เบื่อง่าย ความดันโลหิตสูง  ถ้าเป็นมากใกล้เป็นไตวายเรื้อรัง จะเพิ่มอาการซีด คันตามตัว เบื่ออาหาร อันจะนำไปสู่การล้างไต ฟอกเลือด และเปลี่ยนไตในที่สุด

     โรคหัวใจขาดเลือด : สาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคนี้  มาจากหลอดเลือดหัวใจตีบ  ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้  พบมากในผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ อ้วนลงพุง ขาดการออกกำลังกาย หรือคนในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ยิ่งทำให้โอกาสเป็นโรคสูงขึ้น  อาการที่สำคัญคือ เจ็บแน่นหน้าอกระหว่างราวนม ลิ้นปี่ คล้ายมีอะไรมากดทับ หายใจไม่สะดวก อาจร้าวไปที่คอ กราม แขนซ้ายด้านใน และมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เหงื่อออก ตัวเย็น เย็นศีรษะ หน้ามืด เหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้ ใจสั่น  ดังนั้น เมื่อเกิดอาการเจ็บแน่นหน้าอก ควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด

    

     เคล็ดลับดูแลสุขภาพเบื้องต้น เมื่อก้าวสู่วัยสูงอายุ

     - ควบคุมโภชนาการให้เหมาะสมกับร่างกาย  ควรหลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง รสเค็มจัด และอาหารรสหวาน หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  ดื่มน้ำมากๆ ให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย

     - ออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย  อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ครั้งละ 30 นาที 

     - ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับมาตรฐานไม่ให้อ้วนเกินไป

     - ทำจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียด

     - พักผ่อนอย่างเพียงพอ

     - หมั่นสังเกตุอาการผิดปกติต่างๆ ของร่างกาย  เมื่อเกิดอาการผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์

     - หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่ไม่เหมาะสม เช่น การซื้อยากินเอง การใช้ยาเก่าเพื่อรักษาอาการใหม่ หรือรับยาจากผู้อื่นมาใช้ 

     - ควรพบแพทย์สม่ำเสมอ เพื่อรับคำปรึกษาในการปฎิบัติตัว และการใช้ยาอย่างถูกต้อง

     - ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุก 6-12 เดือน

 

     ผลิตภัณฑ์แนะนำ

     ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ ไตร-แฟกเตอร์ เพิ่มประสิทธิภาพภูมิคุ้มกัน 283%

     ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ ริโอวิด้า เพิ่มประสิทธิภาพภูมิคุ่้มกัน 283% + สารต้านอนุมูลอิสระจากน้ำผลไม้

     ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ พลัส ไตร-แฟกเตอร์ เพิ่มประสิทธิภาพภูมิคุ้มกัน 437%

     ซีเอ็ม (CM)กระดูกและข้อต่อ

    ไบโอ อีเอฟเอ (Bio EFA) น้ำมันปลาและไขมันจำเป็น

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2