อนุมูลอิสระ (Free Radicals) และสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants)

อนุมูลอิสระ (Free Radicals) และสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants)

 

     การสร้างพลังงานจากอาหารที่เราบริโภคเข้าไป เพื่อการดำรงชีวิตอยู่ของเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเช่นมนุษย์นั้น  กระบวนการเผาผลาญอาหารเพื่อสร้างพลังงานนั้นๆ จะทำให้เกิดของเสีย เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ฯลฯ หรือบางครั้งของเสียในร่างกายก็อาจเกิดจากการรับประทานอาหารเข้าไปได้เช่นกัน เช่น แอลกอฮอล์ เป็นต้น  นอกจากนี้กระบวนการเผาผลาญเพื่อสร้างพลังงาน ยังก่อให้เกิดสารเคมีชนิดหนึ่งที่เรียกว่า อนุมูลอิสระ (Free Radical) ซึงอาจถือได้ว่าเป็นสารพิษต่อเซลล์  สารอนุมูลอิสระต่างๆ จะทำให้เซลล์และส่วนประกอบของเซลล์เกิดปฎิกิริยาทางเคมี (Oxidation) ทำให้เซลล์เสื่อมสภาพหรือถูกทำลายลงได้

     สารอนุมูลอิสระอาจวิ่งไปเกิดปฎิกิริยากับอวัยวะของเซลล์ของร่างกาย เช่น สารพันธุกรรมจำพวก DNA หรือ เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane) ซึ่งจะส่งผลให้เซลล์ทำงานแย่ลงหรือตายได้  นอกจากนี้สารอนุมูลอิสระยังหมายรวมถึงสารมลพิษต่างๆ เช่น โอโซน โลหะหนัก และควันบุหรี่ที่เกิดภายนอกร่างกายมนุษย์เช่นกัน

     อนุมูลอิสระต่างๆ เหล่านี้ จะทำลายโครงสร้าง และหน้าที่ของเยื่อบุผนังเซลล์ ก่อให้เกิดความผิดปกติต่างๆ ของร่างกาย เช่น โรคชรา (แก่ก่อนวัย), โรคหลอดเลือดต่างๆ รวมถึงโรคหัวใจขาดเลือด, ความเสื่อมของระบบต่างๆ ในร่างกาย และการกลายพันธ์ของเซลล์ปกติ ซึ่งอาจพัฒนาไปเป็นเซลล์มะเร็งได้ ร่างกายของเราจะสร้างสารอนุมูลอิสระนี้ตลอดเวลา  ดังนั้นธรรมชาติของร่างกายจึงต้องมีกลไกในการควบคุมอนุมูลอิสระต่างๆ เหล่านี้เพื่อไม่ให้ลุกลามไปทำร้ายเซลล์ของร่างกายเราได้

     โดยปกติ ร่างกายจะมีกลไกการป้องกันหรือลดกระบวนการเกิดปฎิกิริยา Oxidation  โดยการสร้างสารต่างๆ ที่เรียกว่าสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) ขึ้นมาต่อต้านอนุมูลอิสระ  เพือทำหน้าที่ปกป้องเซลล์ของร่างกายเราเอง  นอกจากนี้ สารต้านอนุมูลอิสระบางส่วนเราก็ยังได้รับจากอาหารที่ทานเข้าไเช่นกัน เช่น วิตามินอี, วิตามินซี, สารพฤกษเคมีต่างๆ สารต้านอนุมูลอิสระจะช่วยยับยั้งการเกิดปฏิกิริยา Oxidation โดยไปจับกับอนุมูลอิสระ เพื่อไม่ให้มาทำอันตรายเซล์ผ่านปฏิกิริยาดังกล่าวได้

     แม้ว่าปฏิกิริยาเคมีออกซิเดชั่นจะเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิตอยู่ของมนุษย์  หากแต่ก็ยังเกิดโทษได้เช่นกัน  ดังนั้นร่างกายเราจึงต้องรักษาสมดุลด้วยระบบอันซับซ้อนของปฏิกิริยาโดยสารต้านอนุมูลอิสระดังเช่น วิตามินซีและวิตามินอี ที่เราเรู้จัก รวมถึงเอนไซม์อย่างตัวเร่งปฏิกิริยาและเอนไซม์ซูเปอร์ออกไซด์ รวมถึงเพอรอกซิเดสต่างๆ ที่ทำหน้าที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระเช่นกัน

     ระดับสารต้านอนุมูลอิสระที่ต่ำเกินไป จะส่งผลให้เกิดภาวะปฏิกิริยาออกซิเดชั่นที่มากเกินไป (Oxidative Stress) นำมาซึ่งการทำลายหรือสร้างความเสียหายแก่เซลล์ของเร่างกายได้ และอาจเป็นต้นเหตุของการเกิดโรคต่างๆ หลายชนิดที่เรารู้จักกันดี

     จากการศึกษาพบว่า สารธรรมชาติจากอาหารมากมายมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ อาทิเช่น สารสกัดจากเมล็ดองุ่น หรือผักผลไม้ต่างๆ เช่น มะละกอสุก, ทับทิม, องุ่น, แอปเปิ้ล, ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ เช่น อาซาอีเบอร์รี่, บลูเบอร์รี่, เอลเดอเบอร์รี่ เป็นต้น  นอกจากนี้วิตามินบางชนิด อย่างเช่น วิตามินซีและวิตามินอี ก็ยังสามารถทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ด้วยเช่นกัน

     ในปัจจุบันสารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ ถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลายชนิด ด้วยคาดหวังในการดูและสุขภาพและป้องกันโรค  ซึ่งก็น่าจะเป็ฯทางเลือกหนึ่งที่ดีในการเสริมสุขภาพให้กับผู้คนในสังคมดิจิตอล ที่ทุกอย่างดูเร่งรีบอย่างในทุกวันนี้

 

     ผลิตภัณฑ์แนะนำ

     ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ ริโอวิด้า : ทรานสเฟอร์แฟกเตอร์ เสริมประสิทธิภาพระบบภูมิคุ้มกัน + สารต้านอนุมูลอิสระจากน้ำผลไม้ (อาซาอิเบอร์รี่, น้ำทับทิม, น้ำแอปเปิล, น้ำองุ่นม่วง, น้ำเอลเดอร์เบอร์รี)

 

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2