คอเลสเตอรอล – ไตรกลีเซอไรด์ คืออะไร หากภาวะสูงเกินจะกำจัดได้อย่างไร?

คอเลสเตอรอล – ไตรกลีเซอไรด์ คืออะไร หากภาวะสูงเกินจะกำจัดได้อย่างไร?

 

     คอเลสเตอรอล (cholesterol) เป็นไขมันที่เป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ของทุกเนื้อเยื่อในร่างกายและถูกขนส่งในกระแสเลือด คอเลสเตอรอลส่วนใหญ่ไม่ได้มากับอาหาร แต่ถูกสังเคราะห์ขึ้นภายในร่างกาย สะสมอยู่มากในเนื้อเยื่อของอวัยวะที่สร้างมันขึ้นมา เช่น ตับ ไขสันหลัง (spinal cord) สมอง และผนังหลอดเลือดแดง (atheroma)

     คอเลสเตอรอลมีบทบาทในกระบวนการทางชีวเคมีมากมาย แต่ที่รู้จักกันดีคือเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคหัวใจและระบบหลอดเลือด (cardiovascular disease) รวมทั้งภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง (Hypercholesterolemia)

     ร่างกายใช้คอเลสเตอรอลเป็นสารตั้งต้นในการสร้างฮอร์โมนเพศทุกชนิด สร้างน้ำดี สร้างสารสเตอรอล ที่อยู่ใต้ผิวหนังให้เป็นวิตามินดีเมื่อโดนแสงแดด คอเลสเตอรอลพบมากในไข่แดง เครื่องในสัตว์ และอาหารทะเล ร่างกายสามารถสังเคราะห์เองได้แต่ไม่เพียงพอกับความต้องการ

     ผู้ใหญ่ที่มีน้ำหนักตัวประมาณ 68 กิโลกรัม (150 ปอนด์) จะมีคอเลสเตอรอลประมาณ 35 กรัม โดยร่างกายสังเคราะห์ขึ้นเองประมาณ 1 กรัมต่อวัน โดยทั่วไปร่างกายของคนไทยควรได้รับคอเลสเตอรอลจากอาหารที่รับประทานเข้าไปไม่เกิน 300 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนที่ร่างกายรับเพิ่มเข้าไปจะถูกชดเชยโดยการลดปริมาณที่สังเคราะห์ขึ้นเอง (อ้างอิง : วิกิพีเดีย)

     ปัญหาอยู่ที่ว่าคนส่วนใหญ่บริโภคไขมันที่เป็นคอเลสเตอรอลส่วนเกิน ในปริมาณที่มากเกินไป ถึงแม้ร่างกายจะชดเชยโดยลดปริมาณที่สังเคราะห์ขึ้นเองแล้วก็ตาม เนื่องจากคอเลสเตอรอลอยู่ในรูปไขมันจึงไม่ละลายน้ำ ดังนั้นจึงขนย้ายในกระแสเลือดได้ยาก เหมือนน้ำกับน้ำมันที่ไม่รวมตัวกัน

     ร่างกายจึงออกแบบให้ไขมันถูกลำเลียงในกระแสเลือดในรูปแบบการรวมตัว โดยให้โปรตีนเป็นเสมือนพี่เลี้ยงหุ้มไขมันให้อยู่ด้านใน โปรตีนดูดซึมน้ำได้ดีกว่าจึงสามารถพาไขมันไปในกระแสเลือดได้ เราเรียกรูปแบบ ของการรวมตัวนี้ว่า ไลโปโปรตีน (lipoprotein) ไม่เพียงแต่คอเลสเตอรอล ไขมันพวกไตรกลีเซอไรด์ก็ถูกพาไปในกระแสเลือดด้วยไลโปโปรตีนเช่นเดียวกัน

     รูปแบบของคอเลสเตอรอลในเลือดที่อยู่ในลักษณะของไลโปโปรตีน (lipoprotein) มีสองชนิดคือ LDL และ HDL ทั้งสองชนิดมีทั้งคุณและโทษหากมีในปริมาณที่ไม่เหมาะสมกับการทำงานในร่างกาย ถ้ามีในปริมาณที่เหมาะสมจะทำให้การทำงานต่างๆ ในร่างกายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

 

     แอล ดี แอล (LDL, Low Density Lipoprotein) มีส่วนประกอบของ คอเลสเตอรอล 45% ทำหน้าที่ขนส่งคอเลสเตอรอลจากตับไปยังผนังเส้นเลือด เนื้อเยื่อไขมัน และกล้ามเนื้อทั่วร่างกาย ถ้ามีจำนวนมากจะทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น ถ้าสูงเป็นระยะเวลานาน จะเกิดการพอกเกาะติดตามหลอดเลือดที่มีการอักเสบ หากมีการอักเสบอย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิดการอุดตัน จัดเป็นไขมันชนิดร้าย

     การอักเสบที่ทำให้คอเลสเตอรอลมาพอกติดผนังเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดอุดตันนั้น มีสาเหตุสำคัญมาจากการกินน้ำตาล ไขมันประเภทไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน หรือไขมันประเภทผ่านกรรมวิธี วิธีลด LDL คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีคือ กินผักและใยอาหาร ซึ่งจะช่วยดูดซึมคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีออกมา

     สาเหตุของโรคหลอดเลือดอุดตัน เป็นที่มาของโรคอีกหลายโรคเช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เส้นเลือดในสมองแตก ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนในปัจจุบันเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะโรคหัวใจ ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นจนเป็นอันดับต้นๆ ของการเสียชีวิตของประชากรโลกในปัจจุบันอันมีสาเหตุเบื้องต้นมาจากโรคหลอดเลือดอุดตัน เป็นเพราะความเข้าใจผิดว่าสาเหตุหลักมาจากตัวคอเลสเตอรอลและไขมันอิ่มตัวที่อยู่ในกระแสเลือด การเกิดภาวะหลอดเลือดอุดตัน แท้จริงมาจากการอักเสบของผนังเส้นเลือด และการอักเสบนี้มีสาเหตุจากการบริโภคน้ำตาลและไขมันผิดประเภท

 

     เอช ดี แอล (HDL, High Density Lipoprotein) เป็นไขมันที่สร้างจากตับและลำไส้ ทำหน้าที่ขนส่ง คอเลสเตอรอลจากเซลล์ทั่วร่างกายมายังตับ เพื่อเผาผลาญเป็นน้ำดี หรือนำไปให้ตับสร้าง LDL ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดต่ำลง จัดเป็นไขมันชนิดดี การมีระดับ HDL คอเลสเตอรอลชนิดดีสูง จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันได้ เอชดีแอลยิ่งสูงเท่าไหร่ยิ่งดีต่อร่างกาย

     วิธีเพิ่ม HDL คือ ออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงภาวะเครียด

 

     ไตรกลีเซอไรด์ (triglyceride) คืออะไร 

    ไตรกลีเซอไรด์ เป็นไขมันในเลือดที่ร่างกายได้จากการสังเคราะห์ขึ้นในตับ จากอาหารส่วนหนึ่ง ไตรกลีเซอไรด์นับเป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย โดยได้มาจากอาหารจำพวกแป้งน้ำตาล ไขมันประเภทต่างๆ รวมทั้งโปรตีนที่เหลือใช้จะถูกเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์ และเก็บสะสมไว้ที่ไขมันใต้ผิวหนัง เพื่อใช้เป็นพลังงานสำรอง

     ไขมันชนิดนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเสื่อมของหลอดเลือดแดง ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจขาดเลือด อัมพาต อัมพฤกษ์ได้ เช่นเดียวกับการมีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง การมีไตรกลีเซอไรด์ปริมาณสูงทำให้เลือดข้นเหนียว เกิดการจับตัวกันเป็นลิ่มเลือด และอุดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะหัวใจและสมอง

     ระดับไตรกลีเซอไรด์ที่สูงมากๆ อาจจะทำให้เกิดโรคตับอ่อนอักเสบได้ ผู้หญิงที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์สูง จะมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านม เพราะไตรกลีเซอไรด์ที่สูงไปกระตุ้นให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ไหลเวียนอยู่สูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของการเป็นมะเร็งเต้านม

     โดยปกติร่างกายขจัดไตรกลีเซอไรด์ออกจากเลือดได้อย่างรวดเร็ว เพราะมีขนาดเบาบางและเล็กมาก เพียงแค่สองสามชั่วโมงหลังจากการกินอาหาร ไขมันไตรกลีเซอไรด์ส่วนใหญ่จะถูกขจัดออกจากเลือดเข้าสู่เซลล์ได้แล้ว คนทั่วไปมีไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือดไม่สูง คือประมาณ 50-150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หากตรวจเลือดหลังอดอาหารมาแล้ว 8-12 ชั่วโมง พบว่าไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงกว่า 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรขึ้นไป แสดงว่าร่างกายมีปัญหาในการขจัดไตรกลีเซอไรด์

 

     เรารู้จักไขมันทั้งสองชนิดคือ คอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ แล้วว่ามีประโยชน์และโทษอย่างไรบ้าง ถ้าสามารถควบคุมปริมาณไขมันทั้งสองชนิดนี้ได้ สุขภาพจะดีขึ้น

     ปัญหาสำคัญของไขมันทั้งสองชนิดนี้ที่มีต่อสุขภาพคือ มีปริมาณที่เกินความจำเป็นในร่างกาย ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการกินอาหารที่มีไขมันทั้งสองประเภทนี้มากเกิน เกิดภาวะสะสมพอกอยู่ตามอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย รวมถึงอยู่ในกระแสเลือดด้วย และที่สำคัญไขมันที่มากเกินนี้ยังมีภาวะปนเปื้อนของสารพิษที่สามารถละลายอยู่ในไขมันนี้อีก อวัยวะบริเวณที่มีไขมันมีพิษไปพอก ก็จะเป็นบ่อเกิดของโรคร้ายในบริเวณนั้น

     การล้างพิษตับ มุ่งเน้นให้ร่างกายสามารถขจัดไขมันส่วนเกินและมีพิษสะสมออกจากร่างกายให้เร็วที่สุด ผ่านทางการผลิตน้ำดีของตับ โดยขจัดให้เร็วกว่าที่จะมีการดูดกลับของน้ำดี

     เมื่อพิจารณาองค์ประกอบโดยรวมของน้ำดีแล้วจะเห็นว่า น้ำดีมีไขมันเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ซึ่งมีไขมันประเภทคอเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบมากที่สุดถึงกว่าร้อยละ 80 นอกนั้นมีรงควัตถุที่ได้จากการกำจัดเม็ดเลือดแดงที่หมดอายุแล้วจากม้าม

     มีไขมันอีกประเภทคือพวกฟอสโฟไลปิด (phospholipid) เป็นไขมันที่ช่วยในการละลายนิ่ว และทำให้ไขมันไม่เหนียวตัวจับกันแน่น เช่น เลซิติน และมีน้ำเป็นส่วนประกอบ หากเราทำให้น้ำดีที่ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อช่วยในการย่อยอาหาร (โดยเฉพาะสารอาหารพวกไขมัน) สามารถถูกขจัดออกนอกร่างกายได้จำนวนมากและเร็วจนร่างกายไม่สามารถดูดน้ำดีกลับไปใช้ได้ใหม่ การย่อยอาหารในคราวต่อไปร่างกายจำเป็นต้องหาวัตถุดิบใหม่คือ ไขมันประเภทคอเลสเตอรอลจากส่วนต่างๆ ของร่างกายมาใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตับ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตน้ำดีก็ จะถูกตับดึงคอเลสเตอรอลที่สะสมไว้ออกมาใช้งาน โรคไขมันพอกตับก็จะลดน้อยลง

     หากล้างพิษอย่างต่อเนื่องประมาณเดือนละครั้ง ภาวะไขมันพอกตับจะลดลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อลดปริมาณไขมันที่พอกในตับลง ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดพังผืดที่จะทำให้ตับอักเสบก็น้อยลง ตับสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ การกำจัดเซลล์เสียหรืออนุมูลอิสระ จะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ โรคมะเร็งจะมีโอกาสน้อยลง หรือไม่มีโอกาสก่อตัวขึ้นในตับ สำหรับสถิติของคนที่เป็นมะเร็งอยู่ก่อนการล้างพิษ หลังจากการล้างพิษแล้ว ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมด มีภาวะดีขึ้น หลายคนหายจากมะเร็งหากเป็นในช่วงเริ่มต้น

 

     ผลิตภัณฑ์แนะนำ

     บีซีวี (BCV) : บำรุงหัวใจและหลอดเลือด, ช่วยให็หลอดเลือดยืดหยุ่น, ลดคอเลสเตอรอล, ลดความดันโลหิต, ลดการอักเสบของหลอดเลือด

     ไบโอ อีเอฟเอ (Bio EFA) : กรดไขมันจำเป็น, เพิ่มเอชดีแอล, ลดคอเลสเตอรอล, ลดแอลดีแอล, ลดไตรกลีเซอไรด์, ลดการอักเสบของหลอดเลือด      

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2