สารสกัดจากใบชาเขียว

สารสกัดจากใบชาเขียว 

     ชาเป็นพืชในตระกูล Camellia sinensis นิยมชงดื่มมาหลายชั่วอายุคน ชาเขียวได้รับความสนใจไปทั่วโลก สำหรับประเทศไทยเพิ่งจะได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ผลิตภัณฑ์ที่ออกมามักจะมีส่วนผสมของชาเขียวอยู่ด้วย เรามาทำความรู้จักชาเขียวกันดีกว่า

 

     ส่วนประกอบของชาเขียว 

   ส่วนประกอบที่สำคัญของชาเขียวคือสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น polyphenols, theanine

     - Polyphenols เป็นสารที่พบมากในชาเขียวและมีผลป้องกันโรคหัวใจ และมะเร็ง จะออกรสขม

     - Tannins เป็นสารที่พบในชาเชียวออกฤทธิ์ช่วยสมานแผล

     - Catechins จัดอยู่ในกลุ่ม polyphenols ในชาเขียวจะมีสารเหล่านี้มาก สารเหล่านี้จะมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากกว่าวิตามินซีและอีเป็น 100 เท่า การดื่มชาเขียววันละแก้วจะให้ผลลัพธ์ดีกว่าการรับประทานบร็อคโคลี สารตัวนี้จะเป็นตัวป้องกันเนื้องอก

     - Flavonoids เป็นเม็ดสีในผลไม้ มักจะพบในผักและผลไม้สด สารนี้ป้องกันการติดเชื้อ หากขาดสารนี้จะทำให้เกิดการช้ำได้ง่าย

     - Theanine เป็นกรดอมิโนเอซิดอกฤทธิ์เหมือนยากล่อมประสาทพบมากในชา Sencha ชาชนิดนี้เมื่อเก็บเกี่ยวช่วงหนึ่งจะให้สาร Polyphenols มากซึ่งอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ แต่หากเก็บเกี่ยวอีกช่วงเวลาหนึ่งจะได้สาร Theanine มากเหมาะสำหรับผู้ที่มีความเครียด

 

     ชาเขียวต่างกับชาดำอย่างไร

     ประเทศญี่ปุ่นและจีนจะผลิตชาเขียว ส่วนประเทศศรีลังกา อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้จะผลิตชาดำ แต่ทั้งชาเขียวและชาดำก็ผลิตจากใบชาตระกูล Camellia sinensis เหมือนกัน แต่แตกต่างกันในแง่การผลิต กล่าวคือชาดำจะมีขบวนการผลิตที่มากกว่า การหมักทำให้สารที่มีอยู่ในใบชามีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น flavonoids จะเปลี่ยนไปเป็น theaflavins ทำให้ชาเขียวซึ่งผ่านขบวนการผลิตน้อยกว่าจึงมีสารต้านอนุมูลอิสระมากกว่าชาดำ

 

    ผลดีต่อสุขภาพของชาเขียว

     การป้องกันโรคหัวใจสารต้านอนุมูลอิสระในชาเขียวจะลดไขมัน LDL,Triglyceride และเพิ่ม HDL ทำให้เลือดแข็งตัวยาก ทำให้ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือดสมอง

     การป้องกันโรคมะเร็ง

     พบว่าชาเขียวจะป้องกันโรคมะเร็ง ปอด กระเพาะอาหาร นอกจากนั้นการดื่มชาเขียววันละ 3 แก้วจะลดอุบัติการณ์ของการเกิดโรคมะเร็งเต้านม กลไกการป้องกันการเกิดมะเร็งได้แก่

     - ช่วยสลายสารพิษที่เรารับประทานเข้าไป เช่น nitrosamine , aflatoxin

     - ป้องกันสารก่อมะเร็งไปจับกับ DNA ของเซลล์จึงป้องกันการเกิดมะเร็ง

     - ป้องกันสารอนุมูลอิสระที่จะมาทำลาย DNA ของเซลล์

     - ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่จะทำให้เซลล์กลายเป็นมะเร็ง

 

     การป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด

     นักวิทยาศาสตร์พบว่าการดื่มชามากกว่า 15 แก้วต่อสัปดาห์จะมีอัตราการตายจากโรคหัวใจลดลงร้อยละ 44 ชาเขียวสามารถลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

     - Catechins จะลดลดการเพิ่มของไขมัน LDL และ Triglyceride

     - ชาเขียวจะป้องกันการจับตัวของเกล็ดเลือด platelet agregation

     - ชาเขียวจะเพิ่ม HDL ซึ่งเป็นไขมันที่ป้องกันหลอดเลือดตีบ

     - ชาเขียวจะออกฤทธิ์ยับยั้ง angiotension-converting enzyme (ACE).ทำให้ความดันลดลง

     - มีการทดลองในหนูพบว่าชาเขียวจะลดระดับน้ำตาลในเลือด

 

     การป้องกันผิวหนังจากแสงแดด 

     จากการศึกษาจากสัตว์และคนพบว่าเมื่อนำสาร polyphenols จากชาทาที่ผิวหนังจะพบว่าสามารถลดการอักเสบของผิวหนัง ลดการเจริญเติบโตเนื้องอก ลดการทำลายของ DNA จากแสงแดด

     นักวิทยาศาสตร์ไต้หวันพบว่าการดื่มชาเป็นประจำจะเพิ่มความหนาแน่นของกระดูก

 

     การลดน้ำหนัก 

     พบว่าสารสกัดจากชาเขียวสามารถเพิ่มการเผาผลาญไขมันในร่างกาย

 

     - ผลต่อฟันพบว่าการดื่มชาจะป้องกันฟันผุได้เนื่องจากชาเขียวหรือชาดำจะลดการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนั้นในชาจะมีสาร fluoride

     - มีการทดลองว่าชาเขียวเมื่อบ้วนปากจะช่วยป้องกันไข้หวัดใหญ่

     - มีการทดลองในหนูพบว่าสาร Catechins สามารถลดความดันโลหิตในหนู เมื่อแปลงปริมาณมาใช้ในคนจะต้องดื่มมากกว่า 10 แก้วใหญ่ต่อวัน

 

     การดื่มชาเขียว

     ชาเขียวสามารถดื่มทั้งร้อนและเย็น อาจจะผสมมะนาว น้ำตาล หรือนมก็ไม่ทำให้คุณภาพของชาเสียไป

     

     ผลิตภัณฑ์แนะนำ

     PBGS+ (พีบีจีเอส พลัส) : สารต้านอนุมูลอิสระที่ทรงประสิทธิภาพ จาก สารสกัดจากเปลือกสน, สารสกัดจากเมล็ดองุ่น, สารสกัดจาก อะเซโรลา เชอรี่, สารสกัดจากชาเขียว, สารสกัดขมิ้น, ซีตรัส ไบโอฟลาโวนอยด์  ช่วยต้านอนุมูลอิสระ, ชะลอความเสื่อม, ชะลอความชรา, ผิวพรรณสดใส, ลดริ้วรอย, ลดโรคหัวใจและหลอดเลือด, ลดการอักเสบ

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2