การทดลองทางคลีนิค กระทรวงสาธารณสุขประเทศรัสเซีย

ารฟื้นฟูภูมิคุ้มกันด้วยทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์

(Immunorehabiliation with Transfer factor)

อ้างอิง  Ministry of Health and Social Development of the Russian Federation. Transfer factors use in immunorehabilitation after infectious-inflammatory and somatic disease. Methogological letter. Moscow 2004.

บทนำ

    ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ในทางการแพทย์ ยังไม่ได้ช่วยทำให้จำนวนคนที่เป็นโรคติดเชื้อหรือโรคที่ไม่ติดเชื้อลดลงไปกว่าเดิม ขณะเดียวกัน ยังมีประชาชนจำนวนมาก ที่เจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ อาทิ โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคทางระบบหายใจ โรคต่อมไร้ท่อ หรือโรคทางด้านจิตและประสาท รวมไปถึงคนที่ติดเชื้อเอดส์เพิ่มขึ้น

     ปัจจัยที่ส่งเสริมทำให้การเจ็บป่วยเพิ่มขึ้น เนื่องมาจากสิ่งแวดล้อมหรือการได้รับสารอาหารที่ไม่ถูกวิธีหรือไม่มีประโยชน์ รวมไปถึงการได้รับยาจากโรคที่ได้รับ หรือพฤติกรรมและความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันตลอดเวลา  สิ่งเหล่านี้จึงเป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่องได้

     การให้สารกระตุ้นภูมิคุ้มกัน จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานได้เป็นปกติหรือทำให้ดีขึ้น สารดังกล่าวมีทั้งในธรรมชาติหรือสามารถสังเคราะห์ขึ้น ช่วยทำให้กลไกการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้นตามมา

     ในธรรมชาติ ดั่งเดิม สารกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายคน เริ่มต้นจากการได้รับน้ำนมเหลืองจากมารดา ซึ่งถือว่าเป็นสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันที่ดีที่สุดที่รู้จักกันดี โดยเป็นสายกรดอะมิโน  สามารถป้องกันหรือทำลายเชื้อโรค ทั้งแบคทีเรีย ไวรัส ราหรือโปโตซัว ได้เป็นอย่างดี

     ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ ที่พบได้ในน้ำนมวัว เป็นสารชนิดหนึ่งที่เป็นสารธรรมชาติและช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายได้เป็นอย่างดี  โดยช่วยทั้งกระตุ้นการทำงานของลิมโฟไซต์ กระตุ้นการหลั่งสารไซโตคายน์ และควบคุมกลไกการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายได้เป็นอย่างดี

     ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันว่า ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ มีส่วนสำคัญในการรักษาและป้องกันเชื้อ แบคทีเรีย ไวรัส โรคต่างๆ โรคมะเร็ง ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง

     ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ และ ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ พลัส ได้มีการศึกษาและวิจัยทางวิทยาศาสตร์และทางการแพทย์อย่างกว้างขวางในประเทศรัสเซีย 

แนวคิดใหม่ในการพัฒนากลไกการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกันที่บกพร่อง

     ในยุคศตวรรษที่ 20 ก้าวสู่ศตวรรษที่ 21 ปรากฏว่ามีจำนวนคนที่ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันได้มีการเจริญและพัฒนาสายพันธ์ของเชื้อชนิดต่างๆ มากขึ้น การติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัสที่เพิ่มขึ้น นอกจากเกิดจากการพัฒนาของตัวเชื้อแล้ว ในคนที่ติดเชื้อยังพบว่าภายในร่างกายก็มีระบบภูมิคุ้มกันที่ไม่ดีพอ ดังนั้นจึงถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญทั้งจากภายนอกและภายในที่ทำให้เกิดโรคต่างๆตามได้

     ปัญหาในการรักษาหรือความพยายามในการใช้ยาปฏิชีวนะในการฆ่าเชื้อยังมีอยู่ เนื่องจากการดื้อยาหรือการพัฒนาสายพันธ์ของตัวเชื้อ ดังนั้นในการป้องกันที่ดีคือการเปลี่ยนรูปแบบเป็นการให้วัคซีนหรือการรักษาต้านเชื้อจุลินทรีย์ ด้วยการให้สารกระตุ้นภูมิคุ้ม (Immunomodulator) ซึ่งสามารถจะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันที่จำเพาะและไม่จำเพาะแก่ร่างกาย โดยการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันดังกล่าวจะสามารถทำให้ร่างกายสามารถทำลายหรือฆ่าเชื้อที่เข้าสู่ร่างกายได้ทันที

     สิ่งแปลกปลอมที่ถือว่าเป็นแอนติเจน (Antigen) ในระยะแรก ร่างกายจะมีการทำลายโดยเซลล์เม็ดเลือดขาวนิวโทรฟิลและแมคโคฟาจ กินโดยตรงและมีการปล่อยเอนไซม์หรือสารย่อยทำงานตัวเชื้อโดยตรง  ขณะเดียวกันการทำงานเอนไซม์ในร่างกายจะกระบวนการปล่อยสารที่เป็นระบบภูมิคุ้นกันในร่างกายเริ่มทำงานแบบไม่จำเพาะ (Humoral Immunity Linked Non-Specific Factors) ทำให้เม็ดเลือดขาวในกระแสเลือดสามารถผ่านผนังเส้นเลือดมายังเนื้อเยื่อที่มีเชื้ออยู่แล้วไปกินเชื้อโดยตรง ทำให้เกิดกระบวนการอักเสบระยะเฉียบพลัน (acute inflammatory antimicrobial reaction)

     นอกจากนี้แล้วเซลล์ B-lymphocyte และ Plasma cells จะมีการหลั่งสารแอนตีบอดี (antibodies) ซึ่งเป็นสาระสำคัญในระบบภูมิคุ้นกันในร่างกายหลายชนิดได้แก่ IgA, IgM, IgG, IgE หรือ IgD

     นอกเหนือจาก B-lymphocyte แล้ว T-Lymphocyte เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวอีกชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมากในระบบภูมิคุ้นในร่างกาย บนตัวของ T-Lymphocyte จะมีตัวจับสัญญาณต่อเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายที่จำเพาะเจาะจงมาก และได้มีการแบ่งตัวกลายเป็น T-Helper (Th) ซึ่งจะทำให้มีการกระตุ้นการทำงานของ T-cell ในรูปแบบของ Cytotoxic T-Lymphocyte และ T-suppressor (Ts) เพื่อติดตามประสิทธิภาพของการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและการทำงานของเซลล์ Natural killer (NK) cell ต่อไป  

     สารไซโตคาย์ (Cytokines) ที่สำคัญคือ อินเตอร์ลิวคิน (Interleukin) ชนิดต่างๆ ได้แก่ IL-2, IL-4, INF-a, INF-g ที่หลั่งออกมาจาก T-helper lymphocyte หรือ IL-1 จากแมคโคฟาจน์ จะทำหน้าที่ในการกระตุ้นแมคโคฟาจน์ เพื่อไปทำลายเชื้อและทำให้สิ่งแปลกปลอมดังกล่าว ให้มีขนาดที่เล็กลง และกลายเป็นสารแอนติเจน (Antigen) ที่จะไปกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันขั้นสองหรือ Majour Histocompatibiltiy Complex (MHC) ต่อไป โดยกระบวนการติดเชื้อระยะแรก มักใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมงหลังการติดเชื้อ และออกฤทธิ์ได้นานถึง 4 วัน  หากในภาวะที่ร่างกายมีการติดเชื้อหรืออักเสบแบบเรื้อรัง (Chronic Infection-Inflammation) การกระตุ้นด้วยกระบวนดังกล่าวขั้นตอนจะไม่เกิดขึ้น

     ในเด็กที่ได้รับวัคซีนไปแล้วเป็นระยะเวลานาน ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอาจไม่คงที่หรือลดลงตามระยะเวลา หากได้รับเชื้อที่แรงกว่า ระบบภูมิคุ้มกันก็อาจไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในเด็กมักมีประสบปัญหาหรือป่วยด้วยโรคติดเชื้อหรืออักเสบในระบบทางเดินหายใจได้บ่อย

     แนวทางการรักษาที่เป็นไปได้ในทางการแพทย์คือการให้สารกระตุ้นระบบการทำงานของ Monocytic-Macrophage ได้แก่ Sodium Mucleinate, Myelopid, Likopid, Polyoxidomy, Echinacea อาจทำได้  รวมไปถึงการใช้สารกระตุ้น Interferon (IFN) ได้แก่ Amyxin, Cycloferon, neovir หรือกระตุ้น Macrophage, B และ T-Lymphocytes ได้แก่ Thymus Products, Pirogenal, Prodigiosan เป็นต้น ในการใช้สารต่างๆ นั้นพบว่าก็ยังมีผลทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเพิ่มขึ้นไม่เกิน 30-50% ของที่มีอยู่    

ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ ที่ได้จากหัวน้ำนมแม่โค

     ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ ที่ถูกค้นพบตั้งแต่ปี ค.ศ. 1949 โดย H.S Lawrence มีลักษณะโครงสร้างเป็นสารเปปไทด์ที่มีกรดอะมิโนเพียง 44 ตัว และมีน้ำหนักน้อยกว่า 10,000 ดาลตัน (3,500-5,000 ดาลตัน) พบว่ามีความสามารถในการกระตุ้นทั้งT-Supprressor,T-Killer และ Macrophage

     ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ มีคุณสมบัติที่โดดเด่นคือ สามารถถ่ายทอด CMI หรือ DTH ที่จำเพาะจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งได้ และไม่เป็นพิษต่อผู้รับ

     ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ก่ออาการแพ้ในคน ปราศจากเคซีน, Lactogloulins และโปรตีนขนาดใหญ่ แต่มีส่วนที่สามารถกระตุ้นไซโตคายน์ในร่างกายได้ โดยคณะกรรมการ Academician AA Vorobiev ของ Russian Academy of Medical Sciences ได้ชี้ชัดว่าสามารถนำไปใช้ในเด็กและผู้ใหญ่ได้ โดยไม่ไม่ข้อห้ามในการใช้และปลอดภัยในคน

     ในการทำงานของ ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ ในร่างกายนั้นมีหน้าที่ 3 แบบคือ Inducer, Antigen specific หรือ Suppressor ขึ้นอยู่กับความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายคนมากน้อยเพียงใด แต่กลไกการทำงานของ ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ มีหลากหลาย แต่ที่สำคัญคือการกระตุ้นเซลล์ Macrophage และ Cytotoxic T-lymphocyte

     ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ สามารถนำมาใช้ร่วมกับยาอื่นๆ ได้แก่ Immunal, Lactivin ,Thymogen, Myelopid เพื่อช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายดีขึ้นได้  แต่จากการศึกษาในห้องปฏิบัติการพบว่า ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ และ ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ พลัส มีคุณสมบัติในการกระตุ้นการทำงานของ Natural killer (NK) cell ได้มากกว่ายาชนิดอื่นๆ ได้ถึง 103% และ 248%

     นอกจากนี้งานวิจัยยังพบว่า ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ และ ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ พลัส ยังสามารถกระตุ้นให้เซลล์โมโนนิวเคลีย (mononuclear blood cell) ในการต้านเซลล์มะเร็งได้

 

สารประกอบภายใน ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ แอดวานซ์ พลัส

     ผงสกัด ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ (หัวน้ำนมวัวเข้มข้น)

     สังกะสี (Zinc monomethonine 20%) (3.3 มิลลิกรัม)

     สารสกัด Cordyvants

     Inositol hexaphsopahte

     สารสกัดจากถั่วเหลือง (soy beans extract)

     สารสกัดจากคอร์ดิเซป (ถั่งเช้า) Cordyceps Sinensis

     สารสกัดแบต้า-กูแคน จากยีส (Baker's yeast)

     สารสกัดจากเปลือกส้ม

     สารสกัดจากเห็ดอะการิกัส Agaricus Blazeii

     สารสกัดจากว่านหางจระเข้ Aloe Vera leaf

     สารสกัดเบต้า-กลูแคนจาก Oats (Avena sativa)

     สารสกัดจากใบมะกอก Olive (Olea europaea)

     สารสกัดจากเห็ดไมตาเกะ Maitake (Grigolea frondasa)

     สารสกัดจากเห็ดชิตาเกะ Shiitake (Lentinus edodes)

   การใช้ ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ ในกลุ่มโรคต่างๆ

     1. โรคตับอักเสบไวรัส โดยสามารถใช้ทั้งในไวรัสชนิด บี และ ซี โดยจากรายงานพบว่า ในผู้ป่วยโรคนี้จำนวน 50 รายที่ได้ใช้ ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์  เพียง 1 แคปซูล ต่อครั้ง จำนวน 3 ครั้งต่อวัน ติดต่อกัน 14 วัน พบว่ามีผลเทียบเท่ากับการใช้สาร Interferons ซึ่งต้องใช้เงินในการรักษาประมาณ 10,000-50,000 US นอกจากนี้การใช้ ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ พลัส ในกลุ่มผู้ป่วยตับอักเสบไวรัสบีจำนวน 24 รายและไวรัสซีจำนวน 34 ราย จำนวน 1 แคปซูล 3 ครั้งต่อวัน นานเพียง 2 สัปดาห์ พบว่าไม่มีผลข้างเคียง และให้ผลทางคลินิกได้ดีกว่าการใช้ยาอื่น

     2. การติดเชื้อ Chlamydial พบว่าการใช้ ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ ในผู้ป่วยจำนวน 24 ราย เพศชาย ที่มีปัญหา Urogenital chlamydiosis เป็นเวลา 10 วัน เพียงวันละ 3 แคปซูลต่อวัน พบว่าสามารถช่วยทำให้ผลการรักษาด้วยยา Clarythromycin ดีขึ้น

     3. โรคติดเชื้อที่กระดูกและไขกระดูก (Osteomyelitis) พบว่าในกลุ่มโรคนี้จะมีการสารอนุมูลอิสระ (free radical) เพิ่มมากขึ้น การได้รับ ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ 2 แคปซูลต่อครั้ง 3 ครั้งต่อวัน นานติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์ ก่อนการรักษาโดยการผ่าตัดและ  1 แคปซูลต่อครั้ง 3 ครั้งต่อวัน นานติดต่อไป 2 เดือนหลังการผ่าตัด จะทำให้ระบบภูมิคุ้มดีขึ้นและสารอนุมูลอิสระลดลงได้

     4. โรคติดเชื้อ HIV การใช้ ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ พลัส สามารถช่วยทำให้ T-helper (CD+4) มีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยการใช้ ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ พลัส เพียง 1 แคปซูลต่อครั้ง 3 ครั้งต่อวัน ติดต่อกันนาน 2 สัปดาห์

     5. โรคภูมิแพ้ (Allgeric) พบว่าในกลุ่มโรคภูมิแพ้ T-suppressor จะทำงานลดลง และมีการหลั่ง IgE มากเกินไป ดังนั้น ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ จะสามารถช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ทั้งเฉพาะที่เช่นบริเวณผิวหนัง ซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลานานกว่าปกติ เป็นเวลา 20 วัน อาการแพ้จึงจะบรรเทาลงอย่างเห็นได้ชัด ขณะเดียวกันในกลุ่มคนที่เป็นโรค Psoriasis หรือ atopic dermatitis การใช้ ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ ประมาณ 7-10 วันก็จะเห็นผล ผิวหนังบริเวณที่เป็นจะดีขึ้น ไม่หลุดหลอกและไม่คัน

  6. โรคพยาธิใบไม้ในตับ (Opisthorchiasis) การใช้ ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ ครั้งละ 2 แคปซูล 3 ครั้งต่อวัน ติดต่อกันเพียง 7 วัน จะให้ผลทางคลินิกที่ดีขึ้น เช่น การหลอดเลือดอักเสบหรือปวดตามข้อลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยานานถึง 6 เดือน

     7. โรคมะเร็ง (Oncology patients) ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งที่กระเพาะอาหาร พบว่า การได้รับ ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ พลัส เพียง 1 แคปซูลต่อครั้ง 3 ครั้งต่อวัน ติดต่อกันนาน 30 สัปดาห์ สามารถช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ (Non-specific immunity)  และยังพบว่าปริมาณของ CD3+, CD4+, CD8+ ในเซลล์เม็ดเลือดขาว รวมไปถึงจำนวน NK-cell มีจำนวนเพิ่มขึ้น ในกลุ่มคนไข้อาการข้างเคียงจากโรคเช่น อ่อนแรง หายไป

     8. โรคแผลที่ทางเดินอาหาร (Duodenal ulcer) พบว่าในกลุ่มผู้ป่วยจำนวน 20 รายที่ได้รับ ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ พลัส เพียง 2 แคปซูลต่อครั้ง 3 ครั้งต่อวัน ติดต่อกันนาน 10 วัน และ 1 แคปซูลต่อครั้ง 3 ครั้งต่อวัน ติดต่อกันนาน 20 วัน รวมเป็นเวลา 30 วัน พบว่าหลังจากทีได้ ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ พลัส 10 วัน ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทั้ง Humeral และ Cellular immunities เพิ่มขึ้น

ข้อเสนอแนะในการใช้ ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์

      1. ในการป้องกัน (prevention) รับประทานเพียง 1 แคปซูลต่อครั้ง 3 ครั้งต่อวัน ติดต่อกันนาน 30 วัน

     2. การติดเชื้อระยะเฉียบพลัน (acute infection) ควรรับประทาน 2 แคปซูลต่อครั้ง 3 ครั้งต่อวัน ติดต่อกันอย่างน้อย 7 วัน

       โรค 

ประเภท 

ปริมาณ 

ระยะเวลา

ติดเชื้อ HIV

ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ พลัส

1 แคปซูลต่อครั้ง

3 ครั้งต่อวัน

14 วัน

ตับอักเสบไวรัส บี แบบเพียงเป็นใหม่

ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์

1 แคปซูลต่อครั้ง

3 ครั้งต่อวัน

14 วัน

ตับอักเสบไวรัส บี และซี แบบเป็นมานาน

ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ หรือ ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ พลัส

1 แคปซูลต่อครั้ง

3 ครั้งต่อวัน

14 วัน

Hematogenic

Osteomyelitis และ

Immunodeficiency

ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ และ ยาปฏิชีวนะ

2 แคปซูลต่อครั้ง

3 ครั้งต่อวัน

14 วันก่อนผ่าตัดและ 2 เดือนหลังผ่าตัด

ภูมิคุ้มกันบกพร่องนานเกิน 2 เดือน

ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์

1 แคปซูลต่อครั้ง

3 ครั้งต่อวัน

2 เดือน

Osteomyelitis เรื้อรัง

ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ พลัส + การรักษาทางแพทย์

2 แคปซูลต่อครั้ง

3 ครั้งต่อวัน

1 สัปดาห์ก่อนผ่าตัดและ 2 เหือนหลังผ่าตัด

Opisthorchiasis

ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ หรือ ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ พลัส หลังจากที่ได้รักษา

1-2 แคปซูลต่อครั้ง

3 ครั้งต่อวัน

 7 วัน

Urogential chlamydiosis

ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ พลัส และยาปฏิชีวนะ

1 แคปซูลต่อครั้ง

3 ครั้งต่อวัน

10 วัน

Chronic Urogenital Chlamydiosis

ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ หรือ ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ พลัส และ ยาปฏิชีวนะ

1หรือ 2 แคปซูลต่อครั้ง

3 ครั้งต่อวัน

10 วันและ 2 เดือนหลังการได้รับยาปฏิชีวนะครบแล้ว

การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ

ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ complex

2 แคปซูลต่อครั้ง

3 ครั้งต่อวัน

10 วันในช่วงกำเริบ

Psoriasis, Atopic dermatitis

ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์

1 แคปซูลต่อครั้ง

3 ครั้งต่อวัน

14-21 วัน

มะเร็งกระเพาะอาหารหลังผ่าตัด

ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ พลัส

1 แคปซูลต่อครั้ง

3 ครั้งต่อวัน

30 วัน อย่างน้อย

Duodenal Ulcer

  ระยะถูกทำลาย

  หลังระยะถูกทำลาย

  Anti-relapses treatment

ทรานสเฟอร์ แฟคเตอร์ พลัส

 

2 แคปซูลต่อครั้ง

1 แคปซูลต่อครั้ง

1 แคปซูลต่อครั้ง

 

7-10 วัน

สิ้นสุดของเดือน (20-23 วัน)

      อ้างอิง  Ministry of Health and Social Development of the Russian Federation. Transfer factors use in immunorehabilitation after infectious-inflammatory and somatic disease. Methogological letter. Moscow 2004.

 ลิตภัณฑ์แนะนำ

ทรานเฟอร์ แฟคเตอร์ พลัส แอดวานซ์4Life ทรานเฟอร์ แฟคเตอร์ พลัส แอดวานซ์ (เสริมภูมิคุ้มกัน + เพิ่ม NK Cell 437% กำจัดเซลล์มะเร็ง)


ทรานเฟอร์ แฟคเตอร์ ริโอวิดา4Life ทรานเฟอร์ แฟคเตอร์ ริโอวิดา (เสริมภูมิคุ้มกัน + ต้านอนุมูลอิสระ + ป้องกันการเกิดมะเร็ง)

ทรานเฟอร์ แฟคเตอร์ รีนิวออล 
4Life ทรานเฟอร์ แฟคเตอร์ รีนิวออล (เจลทาภายนอก เสริมภูมิคุ้มกันผิว + ผิวหนังอักเสบ)


ยาสีฟัน ทรานเฟอร์ แฟคเตอร์
4Life ยาสีฟันทรานเฟอร์ แฟคเตอร์ ทู๊ธพาส (เหงือกอักเสบ + แผลในช่องปาก + ป้องกันมะเร็งช่องปาก)

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2