สมุนไพรว่านหางจระเข้

ว่านหางจระเข้ (Aloe Vera)


ว่านหางจระเข้เพิ่มภูมิต้านทาน,ต้านมะเร็ง

รักษาแผลในกระเพาะ

ลดน้ำตาลในเลือด,ทำให้ผิวสวย



     ชื่อเรียกของว่านหางจระเข้

     Aloe Barbadensis, ว่านไฟไหม้, หางตะเข้

    รายละเอียด ว่านหางจระเข้

    ว่านหางจระเข้เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี ขึ้นเป็นกอ ลำต้นสั้นนิดเดียว ใบมีปลายแหลม ขอบหยักเป็นหนามเหมือนหาง จระเข้ ใบหนาอวบน้ำ สีเขียวอ่อน ภายในมีวุ้นใส มียางสีเหลือง ๆ ดอกสีเหลืองส้ม เป็นช่อแทงก้านออกมาจากกลางต้น

     ว่านหางจระเข้เป็นพืชพื้นเมืองของอาฟริกา ทนความแห้งแล้งได้ดี แต่ก็ปลูกได้ทั่วไปในเขตร้อน


    
ส่วนที่ใช้ของว่านหางจระเข้

      ใบ

 
    
ประวัติว่านหางจระเข้

    คำว่า “Aloe” มาจากภาษาอาหรับ Alloeh แปลว่า “พืชอมตะ” มีบันทึกถึงการใช้ว่านหางจระเช้เป็นรูปวาดบนผนังในวิหารเก่าแก่ในอียิปต์

     หมอชาวกรีกและจีนโบราณใช้ว่านหางจระเข้เป็นยาระบาย

     ในตำราอายุรเวทของอินเดียใช้ว่านหางจระเข้เพื่อการประเทืองผิว

     คนไทยใช้ยางสีเหลืองของว่านหางจระเข้มาทำ “ยาดำ” ซึ่งมีฤทธิ์ระบาย เพื่อประกอบเครื่องยาไทยหลายชนิด แต่ว่านหางจระเข้ที่ปลูกในบ้านเรามียางที่ว่านี้ไม่พอ การผลิตยาดำจึงต้องใช้ว่านหางจระเข้นำเข้าเท่านั้น

     คนโบราณนิยมใช้วุ้นของใบว่านหางจระเข้ ซึ่งมีความเย็นปิดขมับเพื่อแก้อาการปวดศีรษะ


    
ผลงานวิจัย ว่านหางจระเข้

    ใบของว่านหางจระเข้มีสารที่เป็นตัวยาหลายชนิด คือ อโลอิน (Aloin) บาร์บาโลอิน (Barbaloin) อโล-อีโมดิน (Aloe-Emodin) ซึ่งมีฤทธิ์ระบาย

      นอกจากนี้ใบของว่านหางจระเข้ยังมีสารไกลโคโปรตีนชื่อ อล็อคติน-เอ (Aloctin-A) มีฤทธิ์ลดอาการอักเสบ และเร่งการสมานคืนของเนื้อเยื่อ จึงใช้ในการสมานแผลภายนอกได้เป็นอย่างดี แต่สารดังกล่าวนี้สลายตัวได้ง่ายมาก เพียงแต่ถูกความร้อนก็หายไปหมดแล้ว ดังนั้นการใช้ว่านหางจระเข้เพื่อรักษาแผลภายนอกทั่วไป หรือใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก จะต้องใช้ใบว่านหางจระเข้สดๆ เท่านั้น และไม่ควรทิ้งวุ้นสด ๆ ไว้นานเกิน 24 ชม.

      สารอโล-อิโมดิน ยังสามารถใช้ยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็งเม็ดเลือดขาวในห้องทดลอง

      ยางสีเหลืองบริเวณเปลือกมีสารกลุ่มแอนทราควิโนน ไกลโคไซต์ (Antharaquinone glycoside) เช่น อโล-อิโมดิน อโลซิน (Aloesin) อโลอิน และบาร์บาโลอิน มีฤทธิ์เป็นยาระบาย โดยจะออกฤทธิ์ที่ลำไส้ใหญ่

      มีการศึกษาในยุโรค พบว่าการกินว่านหางจระเข้ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดในรายที่เป็นเบาหวาน

      หากกินน้ำจากว่านหางจระเช้เป็นประจำจะช่วยลดกรดที่มากเกินไปในกระเพาะอาหาร จึงใช้รักษาโรคกระเพาะ และแผลในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ น้ำว่านหางจระเข้ยังช่วยย่อยอาหารประเภทโปรตีน

      มีรายงานว่าสารสกัดจากว่านหางจระเข้ที่เป็นโพลีแซคคไรด์ที่ชื่อคาร์ริซิน (Carrisyn) มีฤทธิ์เป็นยาต้านแบคทีเรีย เชื้อรา ตลอดจนไวรัสโดยเฉพาะอีสุกอีใสและหัดในหลอดทดลอง ทั้งนี้เพราะคาร์ริซินกระตุ้นการสร้างเซลล์ที ดังนั้นจึงมีผลในการกระตุ้นภูมิต้านทาน

     มีรายงานการใช้ว่านหางจระเช้ในผู้ป่วยหิมะกัด ปรากฏว่าผู้ป่วยที่ใช้ว่านหางจระเข้ในการทำแผลจะมีอาการติดเชื้อเพียง 7% เทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ใช้ว่านหางจระเข้ ซึ่งมีอาการติดเชื้อสูงกว่า 98% และมีถึง 33% ที่ต้องลงเอยด้วยการตัดขา

     การใช้ว่านหางจระเข้ทำได้โดยปกเอาเปลือกออก แล้วล้างยางสีเหลืองๆ ออกให้หมด แล้วนำไปใส่แผลสด ในเนื้อว่านหางจระเข้มีมิวโคโพลีแซคคาไรด์ (Mucopolysaccharide) ซึ่งให้ความชุ่มชื้นกับผิวหนัง รวมทั้งฤทธิ์ในการต้านเชื้อแบคทีเรีย  จึงใช้ได้ผลดีในแผลสด แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก


    
การใช้ว่านหางจระเข้รักษาโรค

    1. ใช้รักษาแผลภายนอก เพราะสามารถสมานแผล และต้านเชื้อแบคทีเรีย

      2. ใช้เพิ่มภูมิต้านทาน และอาจมีฤทธิ์ต้านมะเร็งได้

      3. รักษาโรคกระเพาะ และแผลในกระเพาะ

      4. กินเพื่อให้ผิวสวย

      5. ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในรายที่เป็นเบาหวาน

      6. ยางของว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ระบาย

     
    ขนาดที่ใช้

    ใช้เยลลี่ว่านหางจระเข้ ครั้งละ ½ - 1 ช้อนชา วันละ 2-3 ครั้ง


    
ผลข้างเคียงของว่านหางจระเข้

    - คนท้องไม่ควรกินว่านหางจระเข้ เพราะฤทธิ์ระบายของมันจะทำให้มดลูกบีบตัวและคลอดก่อนกำหนด

      - มีรายงานว่าบางคนแพ้โดยเป็นผื่นที่ผิวหนัง ถ้าหยุดกินก็จะหายไปเอง


     ผลิตภัณฑ์แนะนำ

     ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ พลัส ไตร-แฟกเตอร์ (เพิ่มประสิทธิภาพภูมิคุ้มกัน)

     รีนิวออล : เจลทาภายนอก เพิ่มภูมิคุ้มกันผิว, แผล, ผื่นแพ้, สิว,แผลพุพอง, แผลเบาหวาน, แมลงกัดต่อย, ผิวหนังอักเสบ, บำรุงผิว, 
      

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2