เมลาโทนิน (Melatonin)

เมลาโทนิน (Melatonin)

 

เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ

กระตุ้นภูมิคุ้มกัน

ช่วยให้นอนหลับดี

 

     เป็นฮอร์โมนธรรมชาติชนิดหนึ่งในร่างกาย  ที่ผลิตขึ้นยามค่ำคืนจากต่อมไพเนียล (Pineal Gland) ในสมอง  ทำหน้าที่ควบคุมนาฬิกาในร่างกายในการตื่นและหลับของคนเรา  ระดับเมลาโทนินในร่างกายจะลดลงตามอายุ  เมื่ออายุได้ 65 ปี  ระดับเมลาโทนินจะลดเหลือเพียง 1/3 – 1/4 ของคนที่มีอายุ 25 ปี  การเพิ่มเมลาโทนินในร่างกายทำได้โดยการเสริมเมลาโทนินทุกวัน


     ปกติร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินในช่วงเวลากลางคืน  โดยจะหลั่งสูงสุดในช่วยประมาณ 22.00-23.00 น.  จึงถือว่าเป็นช่วงที่ร่างกายควรจะเริ่มนอนหลับได้  ในขณะเดียวกันจะมีผลทำให้เพิ่มการหลั่ง Growth Hormone ให้มากขึ้นด้วยในช่วงนี้
 

     เมลาโทนิน ออกฤทธิ์อย่างไร

      เมลาโทนินมีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระและอาจมีฤทธิ์มากกว่าวิตามินอี  นักวิจัยจึงเชื่อว่า หากระดับเมลาโทนินในร่างกายลดลงจะทำให้ร่างกายมีสารอนุมูลอิสระมากขึ้นซึ่งจะทำให้แก่เร็ว  สมองของเราผลิตอนุมูลอิสระมากกว่าอวัยวะส่วนอื่นๆ  ฉะนั้นการรักษาระดับสารแอนติออกซิแดนต์ในร่างกายจะเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาระดับสารแอนติออกซิแดนต์ในร่างกายจะเป็นสิ่งที่สำคัญในการรักษาสมองของเราเมื่ออายุมากขึ้น

      - การวิจัยในสัตว์พบว่า เมลาโทนินช่วยเพิ่มอายุขัยได้ 30%  และกระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันทำงานดีขึ้น

     - เมลาโทนินไม่มีผลข้างเคียงและช่วยให้นอนหลับดี  ช่วยลดอาการเจ็ทแล็ก (Jet Lag)  ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อต้องเดินทางข้ามโซนของโลก นอนไม่หลับเพราะเวลาต่างกันจากกลางวันเป็นกลางคืน  ขณะที่ร่างกายยังคุ้นกับเวลาเดิมอยู่

     - บรรเทาอาการปวดศีรษะเรื้อรัง เช่นจากไมเกรน

     - ช่วยลดระดับความดันโลหิต ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

     - เสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศ

    
     การเพิ่มเมลาโทนิน
    

     - เราสามารถเพิ่มระดับเมลาโทนในร่างกายได้โดยการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น 

     - บริโภคอาหารพลังงานต่ำเพิ่มขึ้น โดยเลี่ยงอาหารทอด อาหารมัน อาหารที่มีแป้งมาก หรืออาหารที่เติมน้ำตาลมาก  จะช่วยกระตุ้นการสร้างเมลาโทนินในร่างกายได้ และสามารถพบได้ในผลไม้บางอย่าง เช่น กล้วย, ข้าวโอ๊ต, มะเขือเทศ และเชอรี่


      - การให้ฮอร์โมนเมลาโทนินทดแทน  ในต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศทางยุโรคและอเมริกา  ประชาชนจะมีปัญหาเรื่องการนอนหลับ  และพบว่าส่วนใหญ่จะมีภาวะพร่องเมลาโทนิน  ทำให้บางประเทศจัดให้ฮอร์โมนเมลาโทนินเป็นกลุ่มอาหารเสริมที่ช่วยให้นอนหลับ  เพราะฮอร์โมนเมลาโทนินไม่มีผลข้างเคียงใดๆ ทั้งสิ้น  เพียงแต่ถ้ารับประทานมากเกินไป อาจจะทำให้ตื่นได้ยาก และมีอาการง่วงนอนในตอนกลางวัน

 

     ผลิตภัณฑ์แนะนำ

    สลีปไรท์ (ช่วยในการนอนหลับ, คลายกล้ามเนื้อ)

      กลุ่มผลิตภัณฑ์ ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ เสริมภูมิคุ้มกัน 

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2