สารสกัดจากใบแปะก๊วย

สารสกัดจากใบแปะก๊วย (Ginkgo Biloba)

 

เสริมระบบไหลเวียนเลือดและหลอดเลือด

ช่วยให้เลือดไปเลี้ยงสมองดี ฟื้นความจำ

ต้านอนุมูลอิสระ

 

     มีชื่อสามัญเรียกกันหลายชื่อ เช่น Ginkgo, Maidenhair Tree, Forty-Coin Tree

     แปะก๊วย  เป็นพืชที่เก่าแก่ที่สุดในโลก มีกำเนิดมานาน ประมาณ 200 ล้านปีมาแล้ว  แปะก๊วยบางต้นมีอายุยืนยาวมาก  ปัจจุบันจะพบต้นแปะก๊วยปลูกเป็นไม้ประดับในหลายประเทศทั่วโลก  เพราะเป็นพืชที่ทนทานต่อสิ่งแวดล้อมเชื้อโรค

     เชื่อกันว่าต้นกำเนิดของต้นแปะก๊วยอยู่ที่ประเทศจีน  ในประเทศจีนแปะก๊วยถือเป็นพืชมหัศจรรย์ที่ใช้กันแพร่หลายในเชิงรักษาโรค  เมล็ดของแปะก๊วยถูกใช้ในการรักษาสุขภาพและเป็นยาอายุวัฒนะมานานกว่าพันปี

     ในหลายศตวรรษต่อมา  แปะก๊วยกลายเป็นพืชที่มีการสนใจทำการศึกษาค้นคว้าในห้องทดลองกันอย่างมาก  โดยนักวิทยาศาสตร์ยุโรป  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเยอรมันนี  มีการทำการศึกษาถึงองค์ประกอบต่างๆ ทางเคมีของใบแปะก๊วย  จนกระทั่งปัจจุบันใบแปะก๊วยได้ถูกทดลองมากมายถึงคุณสมบัติที่มี

    

     สาระสำคัญในใบแปะก๊วย (Ginkgo)

          - สารที่ได้จากการสกัดใบแปะก๊วย  เป็นสาร Terpene Lactone ซึ่งมีส่วนผสมของสารเคมีหลายชนิด คือ

      - สารกลุ่ม Flavoneglycosides เช่น QinKqetin, Isoqinkqitin, Biobetin

      - สารกลุ่มไดเทอร์ปีน เช่น Ginkgolides ชนิด A B C M

      - สารกลุ่ม Bilobalide

      - Proanthocyanides (โปรแอนโทไซยาไนด์)

       - Catechines

     โดยสารกลุ่ม Flavoneglycosides, กลุ่มไดเทอร์ปีน และกลุ่ม Bilobalide หากอยู่ร่วมกันจะมีผลในเรื่องการรักษา  แต่หากแยกออกจากกันพบว่าไม่มีผลในด้านการรักษา

     สารละลายที่ใช้ในการสกัดใบแปะก๊วยนั้นประกอบด้วยน้ำและสารละลายไขมันในอัตราส่วนที่เหมาะสมจึงจะได้สาระสำคัญออกมาในปริมาณมาก

     ทั้งนี้ใบแปะก๊วยที่ปลูกต่างที่กันจะมีสารออกฤทธิ์ไม่เท่ากัน  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่เพาะปลูก  เช่น เรื่องธาตุอาหารในดิน สภาพอากาศ เช่นเดียวกับพืชชนิดอื่นๆ

     การใช้สารสกัดจากใบแปะก๊วย (Ginkgo) ในการรักษาโรค

     - ปวดขา  มีหลายงานศึกษาให้ผลตรงกันโดยมีข้อมูลหนักแน่นว่า  สามารถใช้สารสกัใบแปะก๊วยให้ผู้ป่วยทานรักษาอาการปวดขา  เพราะเลือดไหลเวียนไม่ดี เพราะมีหลอดเลือดอุดตัน แม้ว่าจะได้ผลไม่ดีเท่ายาแผนปัจจุบัน

     - ระบบไหลเวียนเลือดและหลอดเลือด  ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาใบแปะก๊วยสกัดได้ถูกนำมาใช้ในการควบคุมการไหลเวียนของโลหิตและหลอดเลือด  ช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิตเป็นปกติ และช่วยส่งเสริมการไหลเวียนโลหิตไปเลี้ยงสมอง มือ และเท้า ป้องกันอาการเส้นเลือดในสมองตีบ

     - ฟื้นความจำและระบบสมอง  สารสกัดจากใบแปะก๊วยช่วยให้เลือดไปเลี้ยงสมองดี  และฟื้นความจำ  สำหรับผู้ป่วยอัลไซเมอร์, สมองเสื่อม, เวียนศีรษะ, ปวดศีรษะ, มึนงง, ขาดสมาธิ, สับสน, วิตกกังวล  ซึ่งเกิดจากการมีก้อนหรือลิ่มอุดตันหลอดเลือด  ทำให้เลือดไหลไปเลี้ยงสมองได้ยาก

     - ต้านอนุมูลอิสระ  สารสกัดจากใบแปะก๊วยมีสารต้านอนุมูลอิสระ  ซึ่งจะทำหน้าที่ป้องกันการทำลายจากอนุมูลอิสระได้ เช่น บรรเทาโรคหลงลืมในผู้สูงอายุ เหนื่อยล้า สับสน โรควิตกกังวล หน้ามืด วิงเวียน หูอื้อ และช่วยรักษาโรคตาบางโรคที่เกี่ยวข้องกับการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงจอรับภาพที่ตา

     - ต้อหิน  มีการทดลองใช้ในผู้ป่วยโรคต้อหินหลายคน  พบว่ามีการเพิ่มการไหลเวียนเลือดไปที่ดวงตา  ช่วยให้การมองเห็น  ช่วยให้การมองเห็นดีขึ้นเล็กน้อย และมีการคาดหวังว่าจะช่วยป้องกันโรค AMD ได้ด้วย

     - ริดสีดวงทวาร  การศึกษาเบื้อต้นใช้ทดลองรักษาผู้ที่เป็นโรคริดสีดวงทวาร  เพราะหลอดเลือดดำบริเวณทวารหนักมีอาการขอด เลือดไหลเวียนไม่ดี เมื่อใช้ไปสักระยะพบว่าได้ผลดี  แต่ก็ควรมีการศึกษาเพิ่มเติม

     - โรคอื่นๆ ที่ใบแปะก๊วยจะมีประโยชน์ในการรักษาบ้างเหมือนกัน เช่น โรคหอบหืด, หลอดลมอักเสบ, หลอดลมตีบ, อาการปวดก่อนมีประจำเดือน, ภาวะหมดประจำเดือน, ระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวาน

    

     ข้อควรระวัง

     ใบแปะก๊วยไม่ได้ช่วยบำรุงสมองเสริมความจำ  แต่จะใช้กับคนที่เป็นโรคเส้นเลือดในสมองตีบ เพราะมีส่วนช่วยทำให้เส้นเลือดขยายขึ้น  จึงมีส่วนช่วยความจำในผู้ที่หลอดเลือดตีบ

     การใช้ใบแปะก๊วยในปริมาณมากและต่อเนื่อง  อาจทำให้เส้นเลือดขยายมากจนเป็นอันตราย และถ้ามีบาดแผลหรือต้องผ่าตัด  อาจจะทำให้เลือดไหลไม่หยุด

     ได้มีการนำแปะก๊วยมาใช้ในทางการยา  ในตำราของจีนใช้เป็นยาชง ซึ่งสามารถใช้รักษาโรคหืด โรคปอด และโรคหัวใจ  อย่างไรก็ตาม ต้องระวังส่วนเมล็ด เพราะมีสารพิษร้ายแรงอยู่ถึงขั้นทำให้เสียชีวิต

     สารสกัด Ginkgolidi มีผลต้านการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ดังนั้นสารสกัดใบแปะก๊วยจึงมีข้อห้ามใช้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด ไม่ใช้ร่วมกับน้ำมันปลา หรือสมุนไพรที่ทำให้เลือดไหลไม่หยุด

     ความปลอดภัย

     การศึกษาความเป็นพิษของสารสกัดจากใบแปะก๊วยในหนูโดยฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำพบว่า LD50เท่ากับ 7,725 มิลลิกรัมของน้ำหนักตัวหนู  ซึ่งมากกว่าปริมาณที่คนทานหลายสิบเท่า

     จากผลการทดลองนับได้ว่าสารสกัดจากใบแปะก๊วยนั้นมีความปลอดภัยสำหรับการใช้

     ฤทธิ์ข้างเคียงของแปะก๊วยในผู้ใช้บางราย คือ อาการปวดศีรษะ ท้องไส้ปั่นป่วน ความผิดปกติของระบบประสาทเลือดไหลไม่หยุดขณะผ่าตัด

     ผลิตภัณฑ์แนะนำ

    บีซีวี (BCV) : บำรุงกล้ามเนื้อหัวใจ, ลดไขมันหลอดเลือด, ช่วยให้หลอดเลือดยืดหยุ่น

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2