แคลเซียมกับมวลกระดูก

แคลเซียมกับมวลกระดูก

 

     การบริโภคอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมที่เพียงพอเป็นแนวทางที่สำคัญอย่างหนึ่งในการป้องกันโรคกระดูกพรุน  ด้วยภาวะที่เพิ่มบริโภคแคลเซียมไม่เพียงพออย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน มีผลให้มวลกระดูกต่ำลงและเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ  ข้อมูลการบริโภคแคลเซียมในกรุงเทพมหานครมีค่าประมาณ 360 มิลลิกรัม/วัน ซึ่งต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของปริมาณที่ควรได้รับ

 

     แคลเซียมกับมวลกระดูก

     แคลเซียม เป็นแร่ธาตุที่มีปริมาณมากที่สุดในร่างกาย ประมาณร้อยละ 99 ของแคลเซียมทั้งหมดในร่างกายอยู่ที่กระดูกและฟัน  กระดูกประกอบด้วยโครงสร้าง 2 ส่วน คือ แร่ธาตุต่างๆ ที่สำคัญ คือ แคลเซียม และฟอสฟอรัส ทำให้กระดูกมีความแข็งแกร่ง  นอกจากนี้ ยังมีแร่ธาตุอื่นๆ เช่น แมกนีเซียม โซเดียม คลอไรด์ ฟลูออไรด์ และสังกะสี  อีกส่วนหนึ่งของกระดูก คือ เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective Tissue) ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยโปรตีนชนิดคอลลาเจน (Collagen)

     กระดูกเป็นแหล่งสะสมของแคลเซียม และเป็นเนื้อเยื่อที่มีชีวิต ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แคลเซียมเคลื่อนที่เข้าและออกจากกระดูกเพื่อรักษาระดับแคลเซียมในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และมีการสร้างกระดูกใหม่ทดแทนกระดูกเก่า กระบวนการดังกล่าวทำให้กระดูกมีความแข็งแรงและมีรูปร่างเหมาะสมกับการใช้งาน

     ปริมาณมวลกระดูกมีการเปลี่ยนแปลงตามอายุ  ในช่วงตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยหนุ่มสาว  อัตราการสร้างกระดูกมากกว่าการสลายกระดูก เป็นผลให้ปริมาณมวลกระดูกเพิ่มขึ้น โดยจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในวัยทารก เริ่มช้าลงในวัยเด็ก และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วอีกครั้งหนึ่งในช่วงวัยรุ่น  เมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มสาวปริมาณมวลกระดูกทั้งหมดยังเพิ่มได้อีกเล็กน้อย  จนมีปริมาณมวลกระดูกสูงสุด (Peak Bone Mass) ในอายุระหว่าง 20-35 ปี  ในช่วงระหว่างวัยทารกจนถึงวัยรุ่น ร่างกายสามารถสะสมมวลกระดูกได้ประมาณร้อยละ 85-90 ของปริมาณมวลกระดูกสูงสุด  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวัยรุ่นจะมีการสะสมมวลกระดูกมากที่สุด คือประมาณครึ่งหนึ่งของปริมาณมวลกระดูกสูงสุด  หลังจากนั้นในวัยหนุ่มสาว อัตราการสลายการสร้างกระดูกจะใกล้เคียงกันทำให้ปริมาณมวลกระดูกค่อนข้างคงที่  จนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ และวัยสูงอายุ ปริมาณมวลกระดูกจะเริ่มลดลง เนื่องจากมีอัตราการสลายกระดูก มากกว่าการสร้างกระดูก

 

     แคลเซียมกับการทำงานของระบบอื่นๆ ในร่างกาย

     ปริมาณแคลเซียมในร่างกายซึ่งอยู่นอกกระดูกมีเพียงประมาณร้อยละ 1 คือ อยู่ในเลือดและเนื้อเยื่ออื่นๆ ถึงแม้จะปรากฏอยู่ในปริมาณน้อย แต่มีความสำคัญอย่างมากต่อการทำงานของระบบประสาท กล้ามเนื้อ หัวใจ และหลอดเลือด ช่วยในการแข็งตัวของเลือด ควบคุมการเข้าออกของสารต่างๆ ผ่านผนังเซลล์ และควบคุมการหลั่งของฮอร์โมนบางชนิด

     ผู้หญิงจะมีการสูญเสียมวลกระดูกมากถึงร้อยละ 2-6 ต่อปี  โดยเฉพาะในช่วง 5 ปีแรกหลังจากหมดประจำเดือน  เนื่องจากปริมาณฮอร์โมนเอสโตเจนในร่างกายลดลง  ซึ่งมีผลให้การดูดซึมแคลเซียมลดลง และมีการสลายแคลเซียมออกจากกระดูกมากขึ้น  หลังจากนั้นอัตราการสูญเสียมวลกระดูกจะช้าลงกว่าในช่วง 5 ปีแรกหลังจากหมดประจำเดือน เนื่องจากปริมาณฮอร์โมนเอสโตเจนในร่างกายลดลง  ซึ่งมีผลให้การดูดซึมแคลเซียมลดลง และมีการสลายแคลเซียมออกจากกระดูกมากขึ้น หลังจากนั้นอัตราการสูญเสียมวลกระดูกจะช้าลงกว่าในช่วง 5 ปีแรก  ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนจะมีปริมาณมวลกระดูกต่ำลง  ในผู้หญิงที่มีปริมาณมวลกระดูกต่ำอยู่แล้วก็จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน และกระดูกหักได้ง่ายโดยเฉพาะกระดูกสะโพก กระดูกข้อมือ และมีผลต่อกระดูกสันหลังโดยจะทำให้กระดูกยุบตัวลง หลังค่อม การเกิดกระดูกหักในผู้สูงอายุเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ  ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียค่ารักษาพยาบาลสูงมาก  ทั้งยังอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมา ที่ร้ายแรงที่สุดอาจทำให้ผู้ป่วยสูงอายุเสียชีวิตได้  ผู้หญิงเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนได้มากกว่าผู้ชาย เนื่องจากการสูญเสียมวลกระดูกในผู้ชายมีระดับต่ำกว่าผู้หญิง คือเพียงร้อยละ 0.3-0.5/ปี

     ผู้ที่มีมวลกระดูกมากในวัยหนุ่มสาว  เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุจะมีมวลกระดูกเหลืออยู่มากกว่า และเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนน้อยกว่าผู้ที่มีมวลกระดูกน้อย  ดังนั้นการบริโภคอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมมากเพียงพออย่างต่อเนื่อง  โดยเริ่มตั้งแต่ในวัยทารกจนถึงวัยหนุ่มสาว เป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ช่วยเพิ่มปริมาณมวลกระดูกและลดความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนที่อาจเกิดขึ้นได้ในวัยสูงอายุ

     นมและผลิตภัณฑ์นมเป็นแหล่งของแคลเซียมที่ดี เนื่องจากนมมีปริมาณแคลเซียมสูง และร่างกายนำไปใช้ได้ดำ ปลา และสัตว์เล็กอื่นๆ ที่สามารถกินได้ทั้งกระดูก หรือเปลือก เป็นแหล่งของแคลเซียมที่ดีเช่นกัน เช่น ปลาซิว ปลาเกล็ดขาว ปลาไส้ตัน ปลาซาร์ดีกระป๋อง กุ้งฝอย กุ้งแห้ง เป็นต้น ถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เป็นอีกแหล่งของแคลเซียมที่ดี เช่น เต้าหู้อ่อน (ไม่ใช่เต้าหู้หลอดไข่) เต้าหู้แข็ง เต้าฮวย ส่วนน้ำเต้าหู้ มีปริมาณแคลเซียมไม่มาก จึงไม่ใช่แหล่งแคลเซียมที่ดี แต่น้ำเต้าหู้ก็มีสารอาหารอื่นที่มีประโยชน์ เช่น โปรตีน ผักใบเขียวที่มีแคลเซียมสูง และร่างกายนำไปใช้ได้มาก เช่น ผักกาดเขียว ผักกวางตุ้ง ผักคะน้า เป็นต้น

 

     ผลิตภัณฑ์แนะนำ

     CM (ซีเอ็ม) : แคลเซียม + แมกนีเซียม บำรุงกระดูกและฟัน เสริมระบบประสาท, กล้ามเนื้อ

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2