น้ำมันปลา (Fish Oil)

น้ำมันปลา (Fish Oil)

 

น้ำมันปลาลดความดันโลหิตสูง, ลดไขมันในเลือดสูง และหลอดเลือดหัวใจตีบ

บำรุงสมอง, ลดความเสี่ยงอัลไซเมอร์, ต้านอนุมูลอิสระ, ต้านการอักเสบ

ช่วยให้โรคเบาหวานดีขึ้น, ป้องกันมะเร็งตับอ่อน

      นักวิทยาศาสตร์เริ่มสนใจถึงประโยชน์ของน้ำมันปลา (Fish Oil) หลังจากการสำรวจในปี คศ.1973 พบว่าชาวเอสกิโมบนเกาะกรีนแลนด์ (Greenland Eskimos) มีอัตราการเกิดโรคหัวใจและข้ออักเสบต่ำมากทั้งๆ ที่เป็นกลุ่มชนที่บริโภคอาหารประเภทไขมันสูง โดยแหล่งอาหารคือปลาทะเลและแมวน้ำ  ขณะที่คณะแพทย์เพนมาร์กรายงานผลการสำรวจออกมานั้น  วงการวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบว่าทำไมและเพราะเหตุใด  นอกจากนี้คำว่าโรคหัวใจ (Heart Disease) ไม่มีในภาษาท้องถิ่นของชาวเอสกิโมบนเกาะกรีนแลนด์อีกด้วย

     ผลการวิจัยพบว่า ชาวเอสกิโมรับประทานปลา ซึ่งในปลามีสารประเภทน้ำมันคุณภาพดีที่เรียกว่า น้ำมันปลา  

     น้ำมันปลา (Fish Oil) จัดอยู่ในสารอาหารประเภทไขมัน มีลักษณะเป็นของเหลวใส มีสีเหลืองอ่อน  ผลการศึกษาทางเคมีวิทยาต่อมาจึงพบว่า ไขมันจากปลาหรือเรียกง่ายๆ ว่า น้ำมันปลา ประกอบด้วยกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน 2 ตัว ชื่อ EPA : Elcosapentanoic Acid (ไอโคซาเพนทาอีโนอิก แอซิด) และ DHA : Docosahexanoic Acid (โดซาเฮกซาอีโนอิก แอซิด)  น้ำมันทั้ง 2 ตัวเป็นตัวการสำคัญที่ช่วยป้องกันโรคหัวใจให้กับชาวเอสกิโมที่กินสัตว์ทะเลเป็นอาหารหลัก  จึงเรียกกรดไขมัน EPA และ DHA รวมกันว่า น้ำมันปลา (Fish Oil) และปลาที่จะให้ทั้ง EPA และ DHA ในปริมาณที่สูงก็คือ ปลาทะเลบริเวณน้ำเย็นๆ (Cold Water Fish)

 

     ประโยชน์ของน้ำมันปลาที่รู้จักกันทั่วไป

     Pepping และ Joseph รายงาน ผลการวิจัยเมื่อ คศ.1999 ในวารสาร Journal of Health-System Pharmacy ว่า น้ำมันปลา (EPA และ DHA) มีบทบาทสำคัญในการป้องกันหลอดเลือดโดยเฉพาะที่ไปเลี้ยงในหัวใจ ไม่ให้มีการอุดตัน (Atherosclerosis), โรคหัวใจวาย, โรคซึมเศร้า, โรคมะเร็ง  และในการศึกษาทางด้านโภชนาการบำบัดพบว่า กรดไขมันไม่อิ่มตัวในน้ำมันปลาให้ประโยชน์ในการนำไปร่วมใช้รักษาโรคได้หลายชนิดอีกด้วย เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis), โรคเบาหวาน (Diabetes Melitus), โรคลำไส้ใหญ่อักเสบ (Colitis) ฯลฯ  (จาก American Journal of Clinical Nutrition Vol.71 มกราคม พศ. 2543 เรื่อง Importance of n-3 Fatty Acids in Health and Disease โดย Connor และ William)

 

     น้ำมันปลาเป็นแหล่งของกรดไขมันที่จำเป็นที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ที่เรียกว่า กรดไขมันโอเมก้า-3 (Omega-3) ซึ่งโอเมก้า-3 ที่พบในน้้ำมันปลามี 2 ชนิดคือ

     1. EPA : Elcosapentaenoic Acid (ไอโคซาเพนทาอีโนอิก แอซิด)  เป็นกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่มีสายของคาร์บอนยาว 20 ตัว และมีพันธะคู่ 5 ตำแหน่ง  การเขียนสัญลักษณ์สากลจะใช้ C20: 5 n3  การแปลความหมาย C20 หมายความว่า มีคาร์บอนจำนวน 20 ตัว  5 หมายความว่ามีพันธะคู่ 5 ตำแหน่ง  ซึ่งพันธะคู่นี่เองจะทำให้ไขมันนั้นไม่อิ่มตัว จึงเป็นไขมันที่ดี ไม่เป็นไข  ยิ่งมีพันธะคู่มากเท่าไร ยิ่งดีมากเท่านั้น  หากคาร์บอนมากกว่า 20 ตัวก็จะยิ่งดีต่อร่างกายในการลดความเสี่ยงของโรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ และ n3 หมายความว่า เป็นกรดไขมันโอเมก้า-3

         EPA มีคุณสมบัติในการลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือด, ลดคอเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL Cholesterol) ในเลือด, ป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด, ป้องกันการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคหลอดเลือดสมองตีบตันและหัวใจขาดเลือด จึงลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ

     2. DHA : Docosahexaenoic Acid (โคซาเฮกซาอีโนอิก แอซิด) เป็นกรดไขมันโอเมก้า-3  ที่มีสายของคาร์บอนยาว 22 ตัว และมีพันธะคู่ 6 ตำแหน่ง  การเขียนสัญลักษณ์สากลจะใช้ C22: 6 n3 การแปลความหมาย C22 หมายความว่า มีคาร์บอนจำนวน 22 ตัว 6 หมายความว่ามีพันธะคู่ 6 ตำแหน่ง  จะเห็นได้ว่า DHA มีพันธะคู่มากกว่า EPA  ดังนั้น DHA จึงมีประสิทธิภาพดีกว่า EPA  อีกทั้ง DHA มีจำนวนสายคาร์บอนมากกว่า EPA 2ตัว ก็ยิ่งทำให้ DHA มีประสิทธิภาพสูงกว่า EPA

         DHA เป็นกรดไขมันที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของสมองแลดวงตา  ช่วยเสริมสร้างพัฒนาการทางสมอง, การเรียนรู้ และความจำ  การศึกษาทางคลีนิคมากมายพบว่า DHA ช่วยในการพัฒนาสมองและการมองเห็น  แนะนำให้คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์และให้นมบุตรควรได้รับ DHA 200-300 มิลลิกรัม/วัน  เนื่องด้วย DHA มีประโยชน์ต่อพัฒนาการทางสมอง โดยเฉพาะช่วงที่กำลังสร้างเซลล์สมองในทารกและในเด็ก

 

     โอเมก้า-3 ทั้ง EPA และ DHA  เป็นกรดไขมันที่จำเป็น  ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ได้  จำเป็นต้องได้รับจากการบริโภคอาหารเท่านั้น  โอเมก้า-3 มีมากในปลาทะเล  DHA พบมากในปลาแซลมอน  อันที่จริงแล้วปลาแซลมอนไม่สามารถสร้าง DHA ได้  แต่อาศัยการที่ปลากินสาหร่ายซึ่งสร้าง DHA เข้าไปแล้ว DHA นั้นก็สะสมอยู่ในชั้นไขมันของปลา  ปลาแต่ละชนิด แต่ละมหาสมุทรจะมีปริมาณโอเมก้า-3 แตกต่างกัน  การวิจัยปลาจากแหล่งมหาสมุทรต่างๆ พบว่าปลาจากทะเลในเขตหนาว เช่น แอตแลนติกจะมีปริมาณโอเมก้า-3 สูงที่สุด  เพราะอุณหภูมิที่ต่ำทำให้ปลาสะสมไขมันมาก และโอเมก้า-3 ก็เป็นสารที่ละลายในไขมัน  ส่วนปลาจากทะเลไทยมีปริมาณโอเมก้า-3 ต่ำมาก เพราะเมืองไทยเป็นเมืองร้อน ปลาจะไม่สะสมไขมันหนาเหมือนปลาเมืองหนาว  ส่วนชนิดของปลา พบว่าปลาแซลมอนมีปริมาณโอเมก้า-3 สูงที่สุด  รองๆ มาคือ ปลาแมกเคอเรลที่นิยมนำมาทำปลากระป๋อง ปลาทูน่า และปลาซาร์ดี ตามลำดับ

 

     การทดสอบทางคลีนิค

     โอเมก้า-3 มีส่วนช่วยลดความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ  เมื่อรับประทานน้ำมันปลา 5.6 กรัม/วัน  สามารถลดความดันโลหิตได้ 2.3-3.4 มิลลิเมตรปรอท

     การทดสอบทางคลีนิกพบว่าการรับประทานน้ำมันปลา 1.3 กรัม นาน 4 สัปดาห์ สามารถลดไตรกลีเซอไรด์และเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดีได้อย่างมีนัยสำคัญ  และการทดสอบทางคลีนิกพบว่า การรับประทาน EPA 3.25 กรัม และ/หรือ DHA สามารถลดไตรกลีเซอไรด์ลง 0.34 มิลิโมล/ลิตอย่างมีนัยสำคัญ

     โอเมก้า-3 นอกจากจะสำคัญต่อหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดในสมองแล้ว ยังช่วยให้โรคเบาหวานดีขึ้น และทำให้อาการของโรคอัลไซเมอร์ดีขึ้น  จากการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุและสมองของผู้ป่วยอัลไซเมอร์จะมี EPA และ DHA ต่ำ  การรับประทานโอเมก้า-3 ที่มี DHA จึงช่วยลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์, ต้านอนุมูลอิสระ และต้านการอักเสบ  ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากอัลไซเมอร์  ดังนั้นโอเมก้า-3 จึงมีประโยชน์ต่อทั้งสมองและหัวใจ และกรดไขมันโอเมก้า-3 ยังช่วยป้องกันมะเร็งตับอ่อนได้

     การศึกษาเชิงระบาดวิทยากับประชากรกลุ่มใหญ่ซึ่งเป็นผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดจำนวน 15,806 คน จาก 11 งานวิจัย โดยแบ่งกลุ่มแบบสุ่มเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่ง 7,951 คนได้รับประทานโอเมก้า-3 ส่วนอีกกลุ่ม 7,855 คนไม่ได้รับประทานโอเมก้า-3 เสริม  พบว่ากลุ่มที่ได้รับโอเมก้า-3 สามารถลดการเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ 20% เทียบกับอีกกลุ่ม  จากการทดลองนี้สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาจึงแนะนำให้ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดรับประทานโอเมก้า-3 ปริมาณ 1 กรัมต่อวัน

 

     ผลิตภัณฑ์แนะนำ

     ไบโอ อีเอฟเอ วิธ ซีแอลเอ Bio EFA with CLA : กรดไขมันจำเป็น น้ำมันปลา, น้ำมันดอกคำฝอย, น้ำมันแฟล็กซ์, น้ำมันเมล็ดบอราจ 

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2