มาเพิ่ม ” เอชดีแอล ” คอเลสเตอรอล กันเถอะ

มาเพิ่ม ” เอชดีแอล ” คอเลสเตอรอล กันเถอะ



     เอชดีแอลคอเลสเตอรรอล หรือในภาษาทางแพทย์เรียกว่าไฮเดนซิตี้โปโปรตีนคอลเลสเตอรอล ( High Density Lipoprotein Cholesterol )เป็นคอเลสเตอรอลที่ดีในเลือด ช่วยป้องกันโรคหัวใจ

     หากในเลือดมีเอชดีแอลคอเลสเตอรอลสูง จะช่วยพาเอาแอลดีแอลซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีไปขจัดออกทางน้ำดีที่ตับ โดยระดับเอชดีแอลที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 1 มก./ดล. จะลดความเสี่ยงหัวใจวายได้ 2-4 เปอร์เซ็นต์

     นักวิจัยจากเนเธอร์แลนด์วิเคราะห์งานวิจัย 60 ผลงานและสรุปว่าอัตราส่วนของคอเลสเตอรอลรวม : เอชดีแอล( Total chol/HDL ) ใช้เป็นตัวบ่งชี้การเกิดโรคหัวใจหลอดเลือดได้ดีกว่าการดูค่าแอลดีแอลเพียงตัวเดียว โดย

     คอเลสเตอรอลรวม : เอชดีแอลต้องไม่น้อยกว่า 4 สำหรับผู้ชาย และไม่ต่ำกว่า 3.8 สำหรับผู้หญิง

     ปัจจุบันเป้าหมายในการป้องกันโรคหัวใจอยู่ที่การเพิ่มระดับเอชดีแอล ยาใหม่ๆที่จะผลิตในอนาคตก็พุ่งเป้าไปที่การเพิ่มระดับเอชดีแอลในเลือด ซึ่งหากพิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพดี จะช่วยลดการเกิดหัวใจวายและเส้นเลือดในสมองตีบ (Stroke ) ได้ถึง 80-90 เปอร์เซ็นต์


     ข้อมูลความจริงเกี่ยวกับคอเลสเตอรอลที่ควรทราบคือ

     - คอเลสเตอรอลในเลือดเราประกอบไปด้วยเอชดีแอล 20-30 เปอร์เซ็นต์

     - เอชดีแอลช่วยป้องกันการสะสมไขมันในหลอดเลือดแดง

     - ข้อมูลการวิจัยพบว่า ทุกๆ 1 เปอร์เซ็นต์ของเอชดีแอลคอเลสเตอรอลที่ลดลง เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ 2-3 เปอร์เซ็นต์

     - การวิจัยที่ติดตามดูผลระยะยาวพบว่า เอชดีแอลเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดเกี่ยวข้องกับความเสียงโรคหัวใจ

     - ระดับเอชดีแอลคอเลสเตอรอลในเลือด อาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางพันธุกรรมในบางคน

     - ผู้หญิงมักมีระดับเอชดีแอลคอเลสเตอรอลสูงกว่าผู้ชาย จากการวิจัยผู้ชายประมาณ1/3 และผู้หญิงประมาณ 1/5 มีระดับเอชดีแอลต่ำกว่า 40 มก./ดล. (ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำเกินไป) ระดับเอชดีแอลคอเลสเตอรอลที่สูงถึง 60 มก./ดล.ขึ้นไป ถึงจะมีผลในการป้องกันโรคหัวใจ


     เอชดีแอลช่วยป้องกันโรคหัวใจได้อย่างไร

     นักวิจัยยังไม่แน่ใจในกลไกนัก แต่การวิจัยในสัตว์ทดลองพบว่าระดับเอชดีแอลที่สูงจะช่วยป้องกันการเกิดพลัคในผนังหลอดเลือดแดง (ซึ่งนำไปสู่การเกิดหลอดเลือดแดงแข็ง) การวิจัยในห้องปฏิบัติการชี้แนะว่า เอชดีแอลช่วยขจัดคอเลสเตอรอลจากเซลล์ที่พบในเนื้อเยื่อผิดปกติหรือที่ฉีกขาดในหลอดเลือดแดง งานวิจัยล่าสุดเปิดเผยว่าเอชดีแอลมีคุณสมบัติเป็นสารแอนติออกซิแดนท์และต้านการอักเสบ จึงช่วยยับยั้งการเกิดหลอดเลือดแดงแข็ง


     วิธีเพิ่มเอชดีแอลคอเลสตอรอล

     เอชดีแอลคอเลสตอรอลไม่ได้มาจากอาหาร แต่ปัจจัยการเลือกรับประทานอาหารมีรผลต่อระดับเอชดีแอล ในเลือดได้

     น้ำส้ม จากการวิจัยขนาดเล็กในอังกฤษพบว่า การดื่มน้ำส้มวันละ 3 ถ้วย (ให้พลังงานถึง 330 กิโลแคลอรี่) ช่วยเพิ่มระดับเอชดีแอล 21 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 3 สัปดาห์ ซึ่งอาจเป็นผลจากสารแอนติออกซิแดนท์ที่มีมากในผักผลไม้ และเป็นข้อมูลที่น่าสนใจที่จะต้องติดตามต่อไป

     ผลไม้ น้ำผลไม้สีม่วง และถั่วเปลือกแข็ง อาจมีผลในการเพิ่มเอชดีแอลคอเลสเตอรอล

     ไนอะซิน (วิตามินบี 3) นายแพทย์ไมเคิล พูน ( Michael Poon ) หัวหน้าหน่วยหัวใจจากคาบรินี เมดิคอล เซ็นเตอร์ ( Cabrini MEDICAL Center ) ในนิวยอร์กเปิดเผยว่า ผู้ที่มีระดับเอชดีแอลต่ำอาจได้ประโยชน์จากการเสริมไนอะซินวันละ 500 มิลลิกรัม และปรับปริมาณเพิ่มวันละ 1,000 มิลลิกรัม แต่การเสริมสารไนอะซินไม่เหมาะกับทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่มีระดับเอชดีแอลสูง เพราะอาจมีผลข้างเคียงจึงควรอยู่ในการดูแลของแพทย์ นอกจากนี้ยังมีอาหารหลายชนิดที่มีไนอะซินสูง ได้แก่

     อาหารที่มีไกลซีมิกโหลดต่ำ ( Glycemic Load =GL ) หมายถึงอาหารที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตไม่สูงมากและมีผลต่อการเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดน้อย ส่วนใหญ่มาจากธัญพืชไม่ขัดสี ผัก 
ผลไม้ ผลิตภัณฑ์นมขาดไขมันและไขมันต่ำ งานวิจัยพบว่า ถ้าอาหารที่บริโภคมีค่า GL สูงขึ้น ระดับเอชดีแอลคอเลสเตอรอลจะลดลง

     เลือกไขมันดี ข้อมูลจากมหาวิทยลัยคอร์เนล แนะนำให้เลือกบริโภคไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวแทนไขมันอิ่มตัว เช่น ถั่วเปลือกแข็ง ซึ่งนอกจากช่วยลดคอเลสตอรอลที่ไม่ดีแล้ว ยังอาจช่วยเพิ่มระดับเอชดีแอลคอเลสตอรอลด้วย

     ไขมันดีอีกชนิดหนึ่งคือกรดโอเมก้า 3 ซึ่งมีมากในปลาทะเลและอาหารทะเลอื่นๆ ส่วนในพืชมีมากในเมล็ดแฟลกช์สีด ถั่วเหลือง ผักใบเขียว และถั่วเปลือกแข็งโดยเฉพาะวอลนัท

     บริโภคถั่วเหลือง Dr. Mark Messina ผู้เชี่ยวชาญด้านถั่เหลืองเปิดเผยว่า โปรตีนถั่วเหลืองและไอโซเฟลโวนที่พบในถั่วเหลือง ช่วยเพิ่มระดับเอชดีแอลคอเลสเตอรอล 3 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีผลให้ลดความเสี่ยงโรคหัวใจหลอดเลือดถึง 5 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ยังช่วยลดแอลดีแอลคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์เล็กน้อย และช่วยให้การทำงานของหลอดเลือดดีขึ้น

     มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่า ถั่วเหลืองช่วยลดแอลดีแอลคอเลสเตอรอล (ประมาณ 3 ปอร์เซ็นต์)และไตรกลีเซอร์ไรด์ (ประมาณ 6 เปอร์เซ็นต์) โดยบริโภคในปริมาณ 3 ส่วนตัววัน ซึ่งเท่ากับว่าต้องกินเต้าหู้วันละครึ่งกิโลกรัม หรือเครื่องดื่มถั่วเหลืองปั่น 3 แก้ว นอกจากนี้ควรให้เวลาในการแสดงอผล นั่นคือ จะต้องบริโภคถั่วเหลืองนานพอการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยถั่วเหลือง 23 งานพบว่า การเพิ่มเอชดีแอลจะเห็นผลในงานวิจัยที่นานเกินสามเดือนขึ้นไป

     ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณเหมาะสม Dr.Byung Hong Chung พบว่า การดื่มแอลกอฮอล์โดยเฉพาะไวน์แดงในปริมาณเหมาะสมร่วมกับเมื่ออาหาร จะช่วยเพิ่มระดับเอชดีแอลคอเลสเตอรอล และช่วยพาคอเลสเตอรอลออกจากเซลล์ในผนังหลอดเลือดแดงได้ดีขึ้น แต่ในกรณีที่ระดับไตรกลีเซอไรด์สูง ไม่ควรดื่ม เพราะแอลกอฮอล์จะทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงยิ่งขึ้น

     นอกจากนี้คุณสามารถเพิ่มเอชดีแอลคอเลสเตอรอลได้ด้วย การออกกำลังกายแบบแอโรบิก อย่างน้อยวันละ 30 นาที หยุดสูบบุหรี่และลดน้ำหนัก ncep ระบุไว้ว่า ความอ้วนเป็นสาเหตุหนึ่งของการลดเอชดีแอลคอเลสเตอรอล

     ด้วยวิธีงาย ๆ แค่นี้ เรามาเพิ่มเอชดีแอลคอเลสเตอรอล กันดีกว่าคะ จะรอช้าอยู่ไย

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : HEALTH & CUISINE 

 

     ผลิตภัณฑ์แนะนำ

     ไบโอ อีเอฟเอ (Bio EFA) : กรดไขมันจำเป็น กรดไขมัน Omega-3 และ Omega-6 จากน้ำมันปลา + น้ำมันจากเมล็ดโบราจ (Borage Seed Oil) + น้ำมันจากเมล็ดแฟล็กซ์ + น้ำมันดอกคำฝอย บำรุงหัวใจ, ระบบหลอดเลือด, ลดคลอเรสเตอรอล, ลดการอักเสบ, ความดันโลหิตสูง, บำรุงสมอง สายตา 

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2