อาหารบำรุงกระดูก "ช่วยกระดูกและฟันแข็งแรง"

อาหารบำรุงกระดูก "ช่วยกระดูกและฟันแข็งแรง" VS อาหารทำลายกระดูก

     สำหรับใครที่รักสุขภาพวันนี้เรามีข่าวดีมาฝากกันค่ะซึ่งก็คือเรื่อง อาหารบำรุงกระดูกและอาหารทำลายกระดูก นั่นเองค่ะ กระดูกของคนเราถือว่าเป็นโครงสร้างสำคัญที่ช่วยพยุงร่างกายให้ทรงตัวอยู่ได้และยังเป็นเกาะของกล้ามเนื้อ ถึงแม้ในความเข้าใจของคนส่วนมากจะคิดว่ากระดูกเป็นส่วนที่แข็งแรงที่สุดในร่างกายก็ตาม แต่จะบอกว่ากระดูกของคนเรานี้ใช่ว่าจะแข็งแรงเสมอไปถ้าไม่ได้รับการดูแล วันนี้เราก็เลยนำเอาเรื่องน่ารู้ที่ควรรู้กับ อาหารบำรุงกระดูก และ อาหารทำลายกระดูก มาฝาก ซึ่งในการกินอาหารก็มีส่วนที่จะดูแลกระดูกหรือส่งผลถึงการทำลายกระดูกของเราได้ด้วยเพราะฉะนั้นแล้วคุณควรที่จะใส่ใจกับอาหารของคุณสักนิดเพื่อการมีกระดูกที่แข็งแรง ว่าแล้วเราก็เข้าไปรู้จักกับ อาหารบำรุงกระดูก และ อาหารทำลายกระดูก กันเลยดีกว่านะค่ะว่าจะมีประเภทใดบ้าง แล้วอาหารในแต่ละมื้อที่คุณเลือกรับประทานหรือว่าเป็นอาหารจานโปรดของคุณอยู่ในประเภท อาหารบำรุงกระดูก หรือ อาหารทำลายกระดูก กันแน่น๊า...

 

     6 อาหารบำรุงกระดูก 

     1. แคลเซียม ทำให้กระดูกแข็งแรง พบในนมสด ปลาป่น กุ้งแห้ง งาดำ ปลาซาร์ดีนกระป๋อง ผักใบเขียว ฟอสฟอรัส ทำให้กระดูกแข็งแรง พบใน เนื้อสัตว์ ไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง เมล็ดฟักทอง

     2. แมกนีเซียม ช่วยให้กระดูกดึงแคลเซียมเข้ามาเก็บสะสมไว้ พบในผักใบเขียว รำข้าว ถั่วเมล็ดแห้ง

     3. Lysine ซึ่งเป็นกรดอะมิโนช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟื้นฟู พบในยีสต์ ผลิตภัณฑ์ถั่วเหลือง แป้งถั่วเหลือง นมไขมันต่ำ และปลา

     4. โบรอน เป็นแร่ธาตุที่ช่วยไม่ให้กระดูกเสียแคลเซียมมากเกินไป พบในผักผลไม้และถั่วเปลือกแข็ง

     5. แมงกานีส เป็นองค์ประกอบของกระดูกช่วยไม่ให้กระดูกเสียแคลเซียมมากเกินไป พบในน้ำผลไม้อย่างน้ำสับปะรด

     6. วิตามินดี ช่วยให้กระดูกดึงแคลเซียมเข้ามาเก็บสะสมไว้ พบในน้ำมันตับปลา ปกติแสงแดดหรือรังสีอัลตราไวโอเลตจะช่วยให้ผิวหนังสร้างวิตามินดีขึ้นได้

 

     2 อาหารทำลายกระดูก 

     1. กาแฟ จากงานวิจัยจากกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริการะบุว่า กาแฟแค่ 2 ถ้วย ก็มากพอที่จะทำให้กระดูกเปราะบางได้ เนื่องจากคาเฟอีนในกาแฟจะทำให้ร่างกาย ขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะ

     2. น้ำอัดลม ทำให้เกิดภาวะกระดูกหักง่าย โดยผู้ที่ดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำจะมีโอกาสเกิดกระดูกพรุนมากกว่าผู้ที่ไม่ดื่ม 3-4 เท่า

     สำหรับผู้หญิงที่อายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ความหนาแน่นของกระดูกนอกจากจะไม่เพิ่มขึ้นแล้วยังเริ่มลดลงด้วยหากช่วงก่อนหน้านี้ไม่ได้บำรุงกระดูกให้แข็งแรงเต็มที่ก็อาจทำให้กระดูกเปราะบางและแตกหักได้ง่าย โดยเฉพาะกระดูกบริเวณสะโพกซึ่งจะเจ็บปวดและทรมานมาก ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนกระดูกจะบางลงราวๆ 2 เปอร์เซ็นต์ทุก 1 ปี ในขณะที่การกินแคลเซียมเมื่ออายุมากขึ้นไม่ได้ช่วยความเพิ่มความหนาแน่นให้กับกระดูกแต่อย่างใดเพียงแต่ช่วยชะลอการสูญเสียปริมาตรของกระดูกลง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Electronic Library

 

       ผลิตภัณฑ์แนะนำ

      CM (ซีเอ็ม) : แคลเซียมอะมิโนแอซิดคีเลต + แมกนีเซียมอะมิโนแอซิดคีเลต + สังกะสี + วิตามินดี + โบรอน ช่วยบำรุงกระดูก ป้องกันโรคกระดูกพรุน เสริมระบบกล้ามเนื้อหัวใจ, กล้ามเนื้อ, ระบบประสาท

 

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2