องค์การอนามัยโลกแจ้งยาปฏิชีวนะเสียคุณสมบัติในการรักษาแล้วทั่วโลก

องค์การอนามัยโลกแจ้งยาปฏิชีวนะเสียคุณสมบัติในการรักษาแล้วทั่วโลก

 

     ขณะนี้องค์การอนามัยโลกประกาศว่าถึงยุคที่ยาปฏิชีวนะนั้นได้สูญเสียคุณสมบัติในการรักษาโรคไปแล้วในทุกประเทศทั่วโลก ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายอย่างต่อเนื่องต่อสุขภาพของประชาชนทุกเพศ ทุกวัย ซึ่งจะต้องยกระดับให้กลับมามีประสิทธิภาพอีกครั้ง เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าต่อไปจะเป็นเช่นไร

     ดร. Keiji Fukuda กล่าวว่าขณะนี้ยาปฏิชีวนะสามารถใช้กับการรักษาโรค หรืออาการบาดเจ็บต่างๆได้เพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้น ซึ่งข้อมูลนี้ได้มาจาก 114 ประเทศทั่วโลก ถึงแม้ว่าข้อมูลจะยังไม่สมบูรณ์ในทุกพื้นที่ แต่จากการทดสอบในห้องทดลองกับแบคทีเรีย และไวรัสพบว่ายาได้สูญเสียคุณสมบัติไปแล้วจริง

     ดร. Carmen Pessoa Da Silva หัวหน้าทีมวิจัยการต้านทานเชื้อจุลินทรีย์กล่าวว่า เชื้อโรคนั้นมีอยู่ทุกที่ พวกมันกำเนิดมาก่อนมนุษย์เสียอีก ซึ่งปัญหานี้ไม่ได้เป็นปัญหาแค่ของประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่เป็นปัญหาของมนุษยชาติเลยทีเดียว ซึ่งตอนนี้ทุกประเทศต้องช่วยกันหาทางออก และแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้

     ในรายงานการศึกษาพบว่าการต้านเชื้อแบคทีเรีย 7 ชนิด ของสาเหตุโรคที่ไม่รุนแรงและรุนแรง เช่น โรคติดเชื้อในกระแสเลือด โรคท้องร่วง  โรคปอดบวม โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ และหนองใน พบว่าแบคทีเรียก่อโรคสามารถต้านทานยาปฏิชีวนะได้ทั้งหมดแม้กระทั่งยาที่ใช้เป็นกรณีสุดท้ายเมื่อยาอื่นหมดทางรักษา

     จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่าปัญหาที่น่ากลัวที่สุดก็คือ การที่พบว่ายาที่ใช้ในกรณีสุดท้ายในการรักษาผู้ป่วยซึ่งติดเชื้อแบคทีเรียที่ไม่รุนแรง Klebsiella pneumoniae นั้นไม่สามารถต้านเชื้อนี้ได้ แบคทีเรียชนิดนี้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ติดเชื้อในผู้ป่วยที่สามารถมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ง่ายในโรงพยาบาล เพราะมันเป็นสาเหตุของโรคปอดบวมการติดเชื้อในกระแสเลือด และการติดเชื้อในทารกแรกเกิด และผู้ป่วยที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ ยาที่ใช้ในกรณีสุดท้ายในการรักษาเมื่อผู้ป่วยติดเชื้อนี้ก็คือ Carbapanems แต่จากการเก็บข้อมูลในทุกพื้นที่พบว่าเชื้อสามารถต้านยาได้หมด ในบางประเทศจากการต้านยา Carbapanems  ทำให้ไม่สามารถรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อ K. pneumoniaeได้ มากกว่าครึ่งหนึ่ง กรณีที่รุนแรงต่อการต้านยา Carbapanems นั้นเนื่องมาจากเอนไซม์ NDM1 ซึ่งยิ่งทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงอีก แต่ก็ยังมียา 2-3 ชนิดที่ยังสามารถใช้ต้านแบคทีเรียชนิดนี้ได้ แต่ก็เป็นยาที่เลิกใช้ไปแล้วเนื่องมาจากผลข้างเคียงของมัน

     ซึ่งยาปฏิชีวนะนั้นไม่มีชนิดใหม่เกิดขึ้นเลยนานมาถึง 25 ปีแล้ว บริษัทผู้ผลิตยาไม่สามารถรองรับต้นทุนของการวิจัยและพัฒนาได้เนื่องจากยาปฏิชีวนะชนิดใหม่นั้นต้องใช้อย่างจำกัด เพราะกลัวเกิดการพัฒนาการต้านของเชื้อต่อยา และเมื่อสร้างยาขึ้นมาได้ก็พบว่ายานั้นมีอายุการใช้งานที่สั้นมาก ยาปฏิชีวนะใหม่ที่อยู่ในท้องตลาดก็ไม่ใช่ของใหม่จริงๆเพราะก็เป็นชนิดที่มีอยู่แล้ว คือหมายความว่าแบคทีเรียก็สามารถที่จะพัฒนาตัวต้านยาเหล่านี้ได้ในไม่ช้าเช่นกัน

     บางครั้งในการรักษาผู้ป่วยแพทย์ต้องเห็นการรักษาที่ล้มเหลว ต้องเห็นผู้ป่วยเสียชีวิตไปต่อหน้า เนื่องจากรักษาไม่ทัน แต่ในบางคนก็สามารถรักษาได้เพียงใช้ยาแค่ชนิดเดียวเท่านั้น แต่หลังจากนั้นก็ต้องใช้ยาตัวใหม่ ซึ่งไปเพิ่มความเสี่ยงเพราะเมื่อดื้อยาแล้วอาการป่วยก็จะเพิ่มขึ้นและการต้านยาก็จะเพิ่มขึ้นด้วย 

     ซึ่งจากข้อมูลนี้ได้ชี้ให้เห็นการดื้อยาที่ใช้ในวงกว้างอีกตัวก็คือ ยาที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย Escherichia coli (E. coli) ในปี 1980 เมื่อเริ่มนำ Fluoroquinolone มาใช้รักษานั้นยังไม่มีการต้านจากเชื้อ แต่ขณะนี้ในหลายประเทศ พบว่ามันไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาแล้วในผู้ป่วยกว่าครึ่งของโรงพยาบาล

     ประเทศสหราชอาณาจักรเป็นอีกประเทศที่พบการต้านยารักษาโรคหนองใน Cephalosporins และยังพบในประเทศออสเตรีย  ออสเตรเลีย  แคนาดา  ฝรั่งเศส  ญี่ปุ่น  นอร์เวย์  แอฟริกา  สโลวาเนีย  และสวีเดนอีกด้วย

   องค์การอนามัยโลกได้กระตุ้นให้ประเทศต่างๆเก็บยาปฏิชีวนะไว้ใช้ในยามฉุกเฉินทั้งในคนและสัตว์ รวมทั้งให้รักษาความสะอาดของมือให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยลดปริมาณในกรณีเชื้อดื้อยา Methicillin-Resistant Staphylococcus Aureus (MRSA) คือเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus aureus ซึ่งพบว่ามีการต้านยาMethicillin ในสหราชอาณาจักร

     Médecins Sans Frontières แพทย์ประจำตัวผู้ป่วยที่รักษาขณะที่เกิดเหตุการณ์วิกฤติเช่นนี้ กล่าวว่า ทั่วโลกจำเป็นที่จะต้องวางแผนการใช้ยาให้สมเหตุสมผลมากกว่านี้เพื่อที่จะจ่ายยาปฏิชีวนะได้ในกรณีที่ฉุกเฉินเท่านั้น เราเห็นถึงความน่ากลัวของการดื้อยาปฏิชีวนะในการรักษาผู้ป่วยรวมถึงในเด็กด้วย โดยเฉพาะในประเทศที่ต้องพัฒนาซึ่งการแพทย์ยังไม่เจริญเต็มที่ เมื่อเกิดกรณีฉุกเฉินขึ้นมา

     ซึ่งจากรายงานขององค์การอนามัยโลกนี้หวังว่ารัฐบาลจะตื่นตัวและกระตุ้นให้เอกชนพัฒนาตัวยาใหม่ๆขึ้นมา  การจ่ายยาปฏิชีวนะนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิทธิบัตรระหว่างประเทศและราคาที่สูงและสามารถปรับให้เข้ากับความต้องการของประเทศที่กำลังพัฒนาได้

     ดร. Laura Piddock ผู้เชี่ยวชาญทางด้านจุลชีววิทยา ของประเทศอังกฤษเห็นด้วยกับปัญหาเร่งด่วนนี้ที่โลกต้องตอบสนองวิกฤติเช่นเดียวกับในปี 1980 คาดว่าต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการประสบผลสำเร็จ ซึ่งกล่าวว่านี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น เรายังคงต้องทำความเข้าใจลักษณะของการต้านยา เหมือนกับการค้นพบใหม่ วิจัยและพัฒนายาปฏิชีวนะใหม่ แต่ก็เป็นที่น่ากังวลเพราะทางรัฐบาลอังกฤษได้ลดทุนสนับสนุนการวิจัยยาปฏิชีวนะไปแล้ว เช่นเดียวกับทางดร. Martin Adams ประธานของ Society for Applied Microbiology ก็อยากให้มีการพัฒนายาปฏิชีวนะในมนุษย์และสัตว์เช่นกัน 

     สาเหตุที่เราดื้อยาปฏิชีวนะกันทั้งๆที่ยังไม่เคยกินเข้าไปมีอยู่มากมาย ฝากถึงผู้ที่เกี่ยวข้องช่วยแก้ไขปัญหานี้กันด้วยนะคะ 

อ้างอิงจากเว็บไซต์ ณ วันที่2/5/2557 

http://www.who.int/mediacentre/news/releases/2014/amr-report/en/

http://www.theguardian.com/society/2014/apr/30/antibiotics-losing-effectiveness-country-who

Credit : วิชาการ.คอม

 

     ผลิตภัณฑ์แนะนำ

     ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ ไตร-แฟกเตอร์ : เพิ่มประสิทธิภาพภูมิคุ้มกัน 283%, ปรับสมดุลระบบภูมิคุ้มกัน

     ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ พลัส ไตร-แฟกเตอร์ : เพิ่มประสิทธิภาพภูมิคุ้มกัน 437%

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2