ไตรกลีเซอไรด์(Triglycerides) อันตรายที่คนมักมองข้าม

ไตรกลีเซอไรด์(Triglycerides) อันตรายที่คนมักมองข้าม

 

     คนทั่วๆไปมัวแต่กลัวและกังวลเฉพาะโคเลสเตอรอล(cholesterol)  หารู้ไม่ว่าที่น่ากลัวกว่านั้นคือไตรกลีเซอไรด์( triglycerides)  เพราะมันเกิดจากแคลอรี่ส่วนเกินที่ระบบเมตาบอลิซึ่มของร่างกายใช้ไปไม่หมดกลายเป็นส่วนเกินที่ไปเร่งกระตุ้นให้เกิดการอักเสบของหลอดเลือด  


     แคลอรี่ส่วนเกินเหล่านี้ก็มักมาจากแป้ง น้ำตาล แอลกอฮอลล์  ก่อนที่จะถูกนำไปเก็บสะสมเป็นไขมันที่เรียกว่าไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides)  ไตรกลีเซอไรด์นั้นมีความเกี่ยวโยงกับ HDL cholesterol เป็นอย่างมาก  ผลการตรวจเลือดที่แสดงสัดส่วนระหว่าง ไตรกลีเซอไรด์และ HDL ( triglyceride/HDL ratio) สะท้อนถึงความเสี่ยงที่กำลังก่อตัวในหลอดเลือด  เพราะไตรกลีเซอไรด์เป็นตัวเร่งการอักเสบ  ในขณะที่ HDL มีหน้าที่ปกป้องหลอดเลือด หากมีสัดส่วนที่ไม่สมดุลก็แสดงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น สัดส่วนอุดมคติที่ดีที่สุดคือ 1:1 เพราะแสดงว่าตัวปกป้องกับตัวทำร้ายหลอดเลือดพอฟัดพอเหวี่ยงกัน แต่ก็พบไม่ได้บ่อยนัก แพทย์โรคหัวใจยังคงยอมรับสัดส่วนที่น้อยกว่า 3.5:1  แต่หากรักษาสัดส่วนให้ได้น้อยกว่า 2:1ก็จะดีมากยิ่งขึ้น


     คนไข้รายใดที่สัดส่วนนี้พุ่งขึ้นไปมากกว่า 3.5:1จัดว่าอยู่ในขีดอันตรายเพราะสัดส่วนยิ่งสูงก็แสดงถึงภาวะการอักเสบภายในหลอดเลือดที่รุนแรง ผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกินมักจะมีสัดส่วนนี้สูง และต้องตระหนักให้ดีว่าระดับไตรกลีเซอไรด์สูงในผู้หญิงนั้นมีอันตรายกว่าในผู้ชายมาก จากผลการวิจัยพบว่าผู้หญิงที่เป็นเบาหวาน มีน้ำหนักเกิน และมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูง  จะมีอัตราเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่าผู้หญิงปกติถึง 200 เท่า

 

     จะทำอย่างไรเมื่อไตรกลีเซอไรด์สูง?  

   ไม่มีหนทางอื่นใดนอกจากต้องเปลี่ยนแปลงอาหารการกินทันที  อาหารแบบฉบับเมดิเตอร์เรเนี่ยนได้รับการยกย่องว่าเป็นอาหารที่เหมาะสมในการลดไตรกลีเซอไรด์คือ คาร์โบไฮเดรตที่ได้มาจากผักผลไม้ ธัญญพืชที่มีเมล็ด 45-50 เปอร์เซ็นต์ โปรตีนจากไข่ เนื้อสัตว์ปีก ถั่ว 20-25 เปอร์เซ็นต์ ไขมันที่ได้จากปลา ถั่วเปลือกแข็ง อะโวคาโด งา น้ำมันมะกอก 30 เปอร์เซนต์ หลีกเลี่ยงคาร์โบไฮเดรตที่ได้จากแป้ง ขนมปัง เค็ก แครกเกอร์ คุ้กกี้ น้ำตาล (อย่าลืมต้องงดแอลกอฮอลล์) และจงจำให้แม่นจนขึ้นใจเสมอว่าศัตรูอันดับหนึ่งของหลอดเลือดที่เป็นสาเหตุของโรคหัวใจคือ น้ำตาล ไม่ใช่โคเลสเตอรอล

 

     สารอาหารที่จำเป็นเมื่อมีไตรกลีเซอไรด์สูง

     1.ไขมันโอเมก้า-3 จากปลาเช่นน้ำมันปลา (fish oil )น้ำมันจากปลาหมึก (squid oil) วันละอย่างน้อย 2 กรัม พบว่ามีผลในการลดไตรกลีเซอไรด์และเพิ่ม ไขมันดี HDL ได้ 

     2 แมกนีเซี่ยม Magnesium เป็นแร่ธาตุสำคัญและจำเป็นต่อขบวนการสร้างเอ็นไซม์มากมายโดยเฉพาะ เอ็นไซม์ lipoprotein lipase ที่มีบทบาทต่อการย่อยไตรกลีเซอไรด์ให้กลายเป็นกรดไขมันที่เซลล์่ร่างกายสามารถนำไปใช้งานได้และเสริมสร้างโคเลสเตอรอลที่ดี นอกจากนี้ยังมีข้อดีที่คนนึกไม่ถึง็คือ แมกนีเซี่ยมยังช่วยลดอาการท้องผูกได้ดีอีกด้วย 

     ควรทานวันละ 400-600 มิลลิกรัม แมกนีเซี่ยมในท้องตลาดมีอยู่หลายชนิด ที่ผมแนะนำให้ใช้คือ magnesium glycinate หรือ magnesium citrate

เขียนโดย นายแพทย์ สตีเฟ่น ซินาตร้า 
อายุแพทย์โรคหัวใจ

Credit : เพจ Wellness2012

     

    ผลิตภัณฑ์แนะนำ

    บีซีวี (BCV) สมุนไพร, วิตามิน, เกลือแร่ 20 ชนิด ช่วยบำรุงหัวใจและหลอดเลือด, ลดไขมันหลอดเลือด, ช่วยให้หลอดเลือดยืดหยุ่น + ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ เสริมภูมิคุ้มกัน

   ไบโอ อีเอฟเอ (Bio EFA) :  กรดไขมันจำเป็น กรดไขมัน Omega-3 และ Omega-6 จากน้ำมันปลา + น้ำมันจากเมล็ดโบราจ (Borage Seed Oil) + น้ำมันจากเมล็ดแฟล็กซ์ + น้ำมันดอกคำฝอย บำรุงหัวใจ, ระบบหลอดเลือด, ลดคลอเรสเตอรอล, ลดการอักเสบ, ความดันโลหิตสูง, บำรุงสมอง สายตา    

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2