โรคช่องท้องอักเสบในแมว

โรคช่องท้องอักเสบในแมว

 

     โรคของแมวอีกโรคหนึ่งที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ก็คือ โรคช่องท้องอักเสบในแมว (Feline Infectious Peritonitis:FIP)  เป็นโรคที่ทำให้แมวมีอาการของโรคระบบทางเดินอาหารอย่างอ่อน

     โรคช่องท้องอักเสบในแมวเกิดจากการติดเชื้อที่ชื่อว่า ไวรัสโคโรนาไวรัส  เมื่อเชื้อไวรัสนี้เข้าสู่ร่างกายแมวแล้วจะไม่แสดงอาการป่วยให้เห็นเด่นชัดมากนัก  หากไม่ทราบถึงการติดเชื้อไวรัสที่ชัดเจนก็จะเข้าใจว่าแมวมีอาการท้องเสียทั่วไป  ซึ่งบางรายอาจแสดงอาการท้องเสียบ้าง  บางรายก็จะไม่แสดงอาการเลย  เมื่อเชื้อไวรัสได้รับการฝังตัวอยู่ในร่างกายในระยะหนึ่ง  จึงจะมีการพัฒนาของเชื้อเพิ่มขึ้นจนแสดงอาการบางส่วนออกมา 

     สำหรับการติดต่อของเชื้อไวรัสชนิดนี้ ได้รับการติดต่อมาจากการปนเปื้อนในระบบทางเดินอาหารของแมว เช่น ปัสสาวะ อุจจาระ น้ำลาย และจากการใช้ถ้วย ชามอาหาร หรือกระบะทรายร่วมกัน  นอกจากนี้ไวรัสชนิดนี้อาจจะได้รับการติดต่อจากการส่งผ่านทางรก หรือน้ำนมจากแม่แมวสู่ลูกแมวได้

 

     อาการของโรคช่องท้องอักเสบในแมว

     อาการของโรคในช่วงแรกนี้ แทบจะไม่พบอาการผิดปกติที่ชัดเจน จนเข้าสู่ระยะเวลาหนึ่ง ถึงจะปรากฏอาการซึ่งจะมีอาการแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของแมวแต่ละตัว สามารถแบ่งกลุ่มอาการของโรคได้ 2 แบบ ดังนี้

      1. Wet Form

      อาการแบบนี้จะมีการสะสมน้ำในช่องท้องและช่องอก แมวจะมีอาการท้องกาง หายใจลำบากเนื่องจากมีน้ำในช่องท้องดันกระบังลม มีอาการไข้ เบื่ออาหาร แมวมีอาการเซื่องซึม น้ำหนักลด เหงือกซีดหรือเหลือง

     2. Dry Form

     มีอาการอักเสบเป็นก้อนตามอวัยวะต่างๆ เช่น ไต ตับอ่อน ม้าม ต่อมน้ำเหลือง ปอด สมอง ตา ลำไส้ ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงานอย่างผิดปกติ ทำให้แมวอาจมีอาการผิดปกติของอวัยวะดังกล่าว เช่น ชัก อัมพฤกษ์ ท้องเสียเรื้อรัง ม้ามโต ตับอ่อนอักเสบ ไตอักเสบ ตาบอดเฉียบพลัน

 

     ทราบได้อย่างไร ว่าแมวเป็นโรคช่องท้องอักเสบ

     สำหรับการพิจารณาว่าแมวเป็นโรคช่องท้องอักเสบหรือไม่นั้น แพทย์จะใช้วิธีการดูผลตรวจร่วมกับการวิเคราะห์ประวัติและอาการของแมว โดยการตรวจทางห้องปฏิบัติการนั้น จะมีการตรวจเลือดเพื่อดูค่าเฉพาะต่างๆ เช่น ปริมาณเม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือด ค่าไต ปริมาณโปรตีนในเลือด การตรวจหาเชื้อด้วยเทคนิคทางการแพทย์ การเอ๊กซเรย์และอัลตร้าซาวด์เพื่อตรวจดูก้อนเนื้อที่ผิดปกติ และตรวจดูน้ำในช่องท้องหรือช่องอก และกรณีแมวมีอาการผิดปกติที่ดวงตา แพทย์อาจจะทำการตรวจตาและจอตาเพิ่มเติมเพื่อตรวจสอบว่าเกี่ยวเนื่องกับการเกิดโรคนี้หรือไม่

 

     การป้องกันโรคช่องท้องอักเสบในแมว 

     สำหรับการป้องกันนั้น สามารถทำการป้องกันเบื้องต้นได้ตั้งแต่การฉีดวัคซีนป้องกันโรค ป้องกันการติดเชื้อ FIP และลดอัตราเสี่ยงการติดเชื้อของแมวด้วยการจัดสภาพแวดล้อมในการเลี้ยงดูแมวอย่างมีสุขอนามัย เช่น หากเลี้ยงแมวหลายตัว ควรจัดเตรียมกระบะทราย หรือถ้วม ชาม ในการรับประทานอาหารให้เพียงพอ และทำความสะอาดภาชนะและทรายในกระบะทรายอย่างสม่ำเสมอ หมั่นสังเกตอาการของแมว หากพบว่ามีตัวใดตัวหนึ่งเป็นไข้ หรือมีอาการของโรคใดๆ ควรรีบกันการติดเชื้อโดยการแยกเลี้ยงต่างหาก ไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ร่วมกัน

     นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญคือใส่ใจในการส่งเสริมให้แมวได้รับอาหารที่มีประโยชน์ มีคุณสมบัติช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายให้แข็งแรง ไม่อ่อนแอ เช่น การรับอาหารเสริมสำหรับสัตว์เลี้ยงด้วย ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ ซึ่งมีส่วนประกอบจากสมุนไพรช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน และสารธรรมชาติจากนมวัวและไข่แดง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพภูมิคุ้มกันได้สูงสุดถึง 437% เพิ่ม NK Cell หรือเซลล์สำคัญในระบบภูมิคุ้มกันที่จะทำหน้าที่หลักในการกำจัดเซลล์แปลกปลอมทุกชนิดทั้งเชื้อโรคและเซลล์ร่างกายที่ผิดปกติ ด้วยคุณสมบัติที่มีประสิทธิภาพของทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ จะทำให้แมวได้รับอาหารเสริมที่ส่งเสริมภาวะภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย สามารถต่อสู้กับเชื้อไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพค่ะ

 

    ผลิตภัณฑ์แนะนำ :

    ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ พลัส ไตร-แฟกเตอร์ (Transfer Factor Plus Tri-Factor) : เพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกัน 437%  เหมาะสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง, เนื้องอก, ติดเชื้อต่างๆ เช่น ติดเชื้อไวรัส, ติดเชื้อรา, ติดเชื้อแบคทีเรีย, หวัด, ไซนัส, วัณโรค, ตับอักเสบ, เอชไอวี

เสริมภูมิคุ้มกันให้สัตว์เลี้ยงของคุณ ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ ผลิตภัณฑ์ที่สัตวแพทย์แนะนำ

 

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2