ลดอาการปวดประจำเดือน

ลดอาการปวดประจำเดือน

 

     เมื่อผู้หญิงทุกคนย่างเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์อาจจะมีอาการหนึ่งที่มาพร้อมกับการมาของรอบประจำเดือนคือ อาการปวดประจำเดือน มีลักษณะปวดท้องน้อยขณะมีประจำเดือนครั้งแรก บางคนอาจมีอาการปวดท้องน้อยมากจนไม่สามารถทำได้งานได้อย่างปกติ มีผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน หรือบางรายมีอาการปวดตั้งแต่อายุ 25 ปีขึ้นไปก็อาจจะเป็นอาการบ่งบอกว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นที่มดลูกหรือรังไข่ ซึ่งจำเป็นจะต้องได้รับการตรวจอย่างทันท่วงทีเพื่อหาสาเหตุ นำผลไปสู่การรักษาต่อไป

 

     เราสามารถแบ่งการปวดประจำเดือนได้เป็น 2 ชนิดคือ

     - ชนิดปฐมภูมิ (primary dysmenorrhea)

        พบมากสำหรับเด็กผู้หญิงที่มีอาการประจำเดือนครั้งแรก หรืออาจเกิดภายใน 3 ปี จะมีอาการมากขึ้นเรื่อย ๆ ราวช่วงอายุ 15-25 ปี หลังจากนั้นอาการจะค่อย ๆ ลดลงและหายปวดหลังแต่งงาน หรือหลังมีบุตรแล้ว กรณีเช่นนี้โดยมากเชื่อว่ามีสาเหตุมาจาการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างมีประจำเดือน มีการหลั่งสารชนิดหนึ่งมากกว่าปกติจนทำให้มีการกระตุ้นให้มดลูกมีอาการเกร็งตัว เกิดอาการปวดท้องประจำเดือน

     - ชนิดทุติยภูมิ (Secondary dysmenorrhea)

        พบว่าจะมีอาการปวดชนิดนี้เมื่อมีอายุมากกว่า 25 ปีขึ้นไป ซึ่งอาการนี้มีการตรวจพบว่ามาจากสาเหตุของความผิดปกติของมดลูกหรือรังไข่ เช่น การเกิดเนื้องอกในมดลูก ปีกมดลูกอักเสบเรื้อรัง อาการของเยื่อบุมดลูกผิดปกติ

 

     อาการปวดประจำเดือน

     อาการปวดท้องน้อยจะเริ่มมีก่อนรอบการเกิดประจำเดือนไม่กี่ชั่วโมง มักเป็นช่วง 2-3 วันแรกของการมีประจำเดือน มีอาการปวดบิดเป็นพักๆ บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย อาการท้องเดือน ใจคอหงุดหงิดง่าย อารมณ์เปลี่ยนแปลงไป กรณีเกิดรุนแรง อาจมีอาการเหงื่อออก หรือมือเท้าเย็น

 

     วิธีการสังเกตการแยกโรค 

   สำหรับอาการปวดท้องน้อยนั้น นอกจากมีสาเหตุมาจากการเกิดประจำเดือนแล้ว อาจมีสาเหตุอื่นที่บังเอิญมีอาการช่วงมีประจำเดือนก็ได้ เช่น

     - ไส้ติ่งอักเสบ  ผู้ป่วยมีอาการปวดบริเวณท้องน้อยด้านขวา ติดต่อกันนานกว่า 6 ชั่วโมง อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย หากมีอะไรกระทบกระเทือนบริเวณที่ปวดจะมีอาการเจ็บปวด

     - ปีกมดลูกอักเสบ  สังเกตได้จากอาการปวดบริเวณท้องน้องและเมื่อกดจะเจ็บ ร่วมกับอาการไข้สูง หรืออาจมีอาการตกขาวร่วมด้วย

     - นิ่วท่อไต  ผู้ป่วยมีอาการปวดเกร็งบริเวณท้องน้อยข้างใดข้างหนึ่ง และมีอาการปวดร้าวลงมาที่ช่องคลอดข้างเดียวกัน

     ดังนั้นหากมีอาการปวดท้องในช่วงมีประจำเดือนควรสังเกตอาการอื่นที่ใกล้เคียงกับโรคอื่นร่วมด้วย เพื่อที่จะได้นำข้อมูลไปปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษาอย่างทันท่วงที

 

     เมื่อเกิดอาการปวดประจำเดือนควรปฏิบัติตัวอย่างไร

     หากเกิดอาการปวดประจำเดือน ในเบื้องต้นควรนอนพัก และใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบเพื่อบรรเทาการเจ็บปวด รับประทานยาแก้ปวด หรือยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หากมีอาการผิดปกติ เช่น มีอาการปวดรุนแรง กดบริเวณท้องน้อยมีอาการเจ็บมาก มีไข้หรือมีตกขาว มีประจำเดือนมากกว่าปกติ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุของอาการ

 

     ผลิตภัณฑ์ ซีเอ็ม (CM) ที่มีส่วนผสมของแร่ธาตุและวิตามินที่จำเป็นสำหรับการดูดซึมแคลเซียมและการทำงานของกล้ามเนื้อ รวมทั้งให้วิตามินดี ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม และสามารถนำแคลเซียมไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดการตกค้าง ซึ่งผลิตภัณฑ์ ซีเอ็ม (CM) นี้ช่วยลดอาการจากการปวดประจำเดือนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันตะคริว อาการปวดเกร็ง ช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อ และระบบประสาทอีกด้วย ดังนั้นหากสาว ๆ มีอาการปวดประจำเดือนบ่อย ๆ ลองรับประทานอาหารเสริมเช่น ซีเอ็ม (CM) นะคะ อาการปวดประจำเดือนจะค่อย ๆ ลดอาการปวดลงได้ อีกทั้งยังจะทำให้ร่างกายของเรามีระบบภูมิคุ้มกันที่มีประสิทธิภาพ ป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ดีอีกด้วยค่ะ

 

     ผลิตภัณฑ์แนะนำ

     ซีเอ็ม (CM) เป็นสารอาหารที่ช่วยเสริมสุขภาพของกระดูก ระบบกล้ามเนื้อ ระบบประสาท การเผาผลาญอาหาร และสุขภาพโดยรวม  มีแคลเซียมและแมกนีเซียมในหลายรูปแบบ และอยู่ในรูปแบบ Chelated Mineral เพือเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย  และสารอาหารอื่น ๆ เพื่อเสริมสร้างร่างกายของคุณให้มีความแข็งแรงตามความต้องการในแต่ละวัน

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2