โรคไข้กาฬหลังแอ่น

โรคไข้กาฬหลังแอ่น 

       

     ในการดำเนินชีวิตประจำวันของคนเรานั้น ตั้งแต่ ตื่นนอน เดินทางมาทำงาน รับประทานอาหาร และทำกิจกรรมต่างๆ จนกระทั่งนอนหลับ ล้วนแล้วแต่ต้องเจอกับสิ่งแวดล้อมต่างๆ รอบตัวทั้งที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย  ในภาวะร่างกายอ่อนแอ ร่างกายอาจจะได้รับการติดเชื้อโดยไม่รู้ตัวจากสิ่งต่างๆ ซึ่งเมื่อติดเชื้อในระยะเวลานาน ผลที่ตามมาอาจจะสะสมความรุนแรงจนส่งผลอันตรายต่อชีวิตได้ ดังเช่น การติดเชื้อโรคไข้กาฬหลังแอ่น ซึ่งเป็นโรคหนึ่งที่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า Neisseria meningitides ชนิดรุนแรงซึ่งพบว่ากลุ่มเชื้อชนิด Group B และ C เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค

 

     การติดเชื้อโรคกาฬหลังแอ่น

    พบการติดเชื้อโรคกาฬหลังแอ่น ใน 2 ลักษณะคือ การติดเชื้อธรรมดา และกรณีการแบ่งตัวช้าๆ ในกระแสเลือด  เชื้อจะค่อยๆ แพร่ไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ  พบได้บ่อยในเยื่อหุ้มสมอง และพบส่วนน้อย ในข้อต่อต่างๆ และเยื่อหุ้มหัวใจ  ซึ่งหากกรณีมีการแบ่งตัวเชื้อแบคทีเรียอย่างรวดเร็ว จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด และอาจจะเข้าสู่เยื่อหุ้มสมอง เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มสมองร่วมด้วย นอกจากนี้โรคนี้ยังส่งผลทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับข้อ ปอดบวมตามอวัยวะต่างๆ

 

     การติดต่อของโรคกาฬหลังแอ่น

     มีการติดเชื้อเฉพาะคนสู่คน ไม่มีการติดต่อโดยสัตว์เป็นพาหะนำโรค โดยติดต่อจากการหายใจเอาเชื้อแบคทีเรียที่กระจายอยู่ในน้ำมูก, ละอองเสมหะ, น้ำลายผู้ป่วยหรือผู้ที่เป็นพาหะนำโรค หรือการสัมผัสกับสิ่งคัดหลั่งมาสัมผัสกับเยื่อบุตา จมูก ปากของเรา, การสูบบุหรี่ร่วมกัน, ดื่มน้ำแก้วเดียวกัน, การผายปอด จากกรณีใกล้ชิดซึ่งอาจมีความสุ่มเสี่ยงในการติดเชื้อได้ง่าย

 

     อาการของผู้เป็นโรคไข้กาฬหลังแอ่น

     จะมีอาการอ่อนเพลีย, คลื่นไส้, อาเจียน, เจ็บคอ, คอแข็ง, ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ, ปวดข้อ และอาจมีผื่นเลือดออกใต้ผิวหนังกับจ้ำเลือดรอยตามตัว  หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงอาจจะมีอาการซึม, ชัก และช็อกจนเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว  ซึ่งเมื่อมีอาการใดๆ ควรจะรีบพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยโรคทันที  หากแพทย์ดูอาการมีข้อบ่งชี้ถึงอาการของโรคไข้กาฬหลังแอ่น  แพทย์จะเจาะน้ำไขสันหลังเพื่อตรวจหาเชื้อ  Neisseria meningitides

 

     การป้องกันโรคไข้กาฬหลังแอ่น

     สำหรับการป้องกันการเกิดโรคนั้น ควรหมั่นตรวจสุขภาพทุกปี และควรฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ  สำหรับการป้องกันการติดเชื้อจากโรคทางเดินหายใจ ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ชุมชนแออัด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก หากจำเป็นควรป้องกันเบื้องต้นโดยการสวมหน้ากากอนามัย, ป้องกันตัวเองจากการสัมผัสกับน้ำลาย, ละอองน้ำมูกจากผู้อื่น  ด้านการรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เสริมภูมิต้านทานให้กับร่างกาย  โดยเลือกรับประทานอาหารจากแหล่งอาหารที่มีคุณสมบัติช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย เช่น อาจเลือกผลิตภัณฑ์ ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ (Transfer Factor) ผลิตภัณฑ์ที่มีสารธรรมชาติจากน้ำนมเหลืองของวัวและไข่แดงของไข่ไก่  นอกจากจะมีคุณสมบัติการเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิต้านทานให้กับร่างกายแล้ว ยังมีกรณีศึกษาที่กล่าวถึงการใช้ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ ว่าช่วยลดอัตราการเจริญเติบโตของแบคทีเรียเสริมประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันให้เตรียมพร้อมสำหรับการต่อสู้กับแบคทีเรีย ทำให้สุขภาพแข็งแรง ทราบคุณสมบัติที่ชัดเจนของ ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ แล้ว อย่าลืมรับประทานอาหารเสริมสิ่งดีดีนี้ ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายด้วยนะคะ

 

 

      ผลิตภัณฑ์แนะนำ :

      ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ พลัส (Transfer Factor Plus) : เพิ่มประสิทธิภาพระบบภูมิคุ้มกันได้สูงถึง 437% สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง, เนื้องอก, ติดเชื้อต่างๆ เช่น หวัด, วัณโรค, ไข้เลือดออก,  ตับอักเสบ, เอชไอวี, ติดเชื้อไวรัส, ติดเชื้อแบคทีเรีย

 

ปิดปรับปรุงระบบความคิดเห็นชั่วคราว ขออภัยในความไม่สะดวก หากลูกค้าต้องการเปิดใช้งานระบบ กรุณาติดต่อ 02-8323222 กด 2